วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

มาทำความรู้จักกับ ค่า Orac Score

ORAC Score 
ORAC  Score  หรือ คะแนนโอแรค   ซึ่งย่อมาจาก  Oxygen  Radical  Absorbance  Capacity  เป็นคะแนนที่ได้จากการทดลองหาค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของอาหารจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  กรรมวิธีและกระบวนการในการตรวจหาค่า  ORAC Score  ของอาหารแต่ละชนิดเป็นวิธีการมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ  มีความสลับซับซ้อน   และค่าที่ได้จากการทดลองก็สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินประสิทธิภาพของอาหารแต่ละชนิดที่มีความสามารถในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาหารที่มีค่า ORAC Score  สูงก็จะมีประสิทธิภาพในการต้านทาน   และลดอุบัติการณ์ของโรคร้ายหลายชนิดซึ่งมีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ   เช่น  โรคมะเร็ง  และโรคหัวใจ  เป็นต้น

                อาหารที่มีค่า ORAC Score  สูงยังสามารถปกป้องเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ให้ปลอดภัยจากการถูกทำลายเสียหายจากกระบวนการอ๊อกซิเดชั่น  (Oxidative  Damage)  ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างอนุมูลของออกซิเจน  (Oxygen  Radicals)  และสารเคมีต่างๆ   ที่สะสมอยู่ตามธรรมชาติภายในร่างกาย  กระบวนการเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองกับทุกๆ คนในทุกๆวัน  กิจวัตรประจำวัน  เช่น  การทำงาน  การรับประทานอาหาร   อากาศที่ไม่บริสุทธิ์  แสงแดด และคลื่นแม่เหล็กจากเครื่องใช้ไฟฟ้า   แม้แต่กระบวนการย่อยอาหารที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย  ก็ล้วนเป็นกลไกที่สามารถสร้างอนุมูลของออกซิเจนขึ้นได้เอง

                เพื่อให้สามารถจินตนาการกลไกต่างๆ  เหล่านี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอเปรียบเทียบปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นภายในร่างกายกับปฏิกิริยาการเกิดสนิมในโลหะ   โดยเมื่อโลหะสัมผัสกับอากาศและเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวกันจนเกิดเป็นสนิมขึ้น   สนิมจะกัดกินเนื้อโลหะไปเรื่อยๆ  และทำให้เกิดรูพรุนขึ้นในเนื้อโลหะชิ้นนั้น   หากปล่อยไว้จนกระทั่งสนิมทำปฏิกิริยาเป็นเวลานาน  โลหะชิ้นนั้นก็จะผุกร่อนจนไม่สามารถนำไปใช้งานอะไรได้อีก

                คงไม่มีใครในโลกนี้ที่ต้องการมีชีวิตอยู่ในร่างกายที่ผุกร่อนเช่นนั้น   น่าเสียดายที่อนุมูลอิสระในร่างกายคนเราต่างก็เร่งทำงานอย่างขยันขันแข็งไม่แตกต่างไปจากปฏิกิริยาการเกิดสนิมในเนื้อโลหะ   ตลอดเวลาที่ร่างกายเราเจริญเติบโตจากการรับประทานอาหาร  การหายใจ   การออกกำลังกาย  แม้ว่าจะดูเหมือนร่างกายเราในช่วงที่ผ่านมาจะมีการพัฒนาการที่ดี   แต่อวัยวะต่างๆ  ของร่างกาย   เซลล์เนื้อเยื่อ  รวมไปถึงซอกหลืบที่เล็กที่สุดภายในร่างกาย  ก็ยังผจญกับความเสี่ยงจากการเข้าทำลายและทำให้เซลล์เสียหายจากกระบวนการอ๊อกซิเดชั่น  และเกิดอุบัติการณ์ของโรคร้ายต่างๆ  ตามมามากมายอย่างคาดไม่ถึง

                กระบวนการตรวจวัดค่า  ORAC Score  นั้นสามารถตรวจวัดได้ครอบคลุมอาหารทุกกลุ่มแม้ว่าการวัดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของอาหารแต่ละชนิดจะกระทำได้ค่อนข้างยาก  แต่การตรวจวัดค่า  ORAC Score  ก็สามารถใช้ในการระบุเฉพาะเจาะจงได้ว่าอาหารชนิดใดมีความสามารถอย่างแท้จริงในการต้านโรคที่เกิดจากกระบวนการของสารอนุมูลอิสระภายในร่างกาย  น่าแปลกที่อาหารหลายชนิดเมื่อนำมารวมกันจะทำให้ได้ค่า  ORAC Score  ที่สูงขึ้นกว่าการตรวจวัดค่า  ORAC Score  จากอาหารแต่ละชนิดแล้วนำมารวมกัน  เรียกได้ว่ามีอาหารบางชนิดที่เมื่อนำรวมกันด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้องแล้ว   จะสามารถเสริมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพในการทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ร่างกายได้มากขึ้น

                ในปัจจุบันนี้ที่ผู้คนจำนวนมากหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพ  และซื้อรวมทั้งบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายชนิด   ทั้งในรูปแบบของสารสกัดจากวัตถุดิบตามธรรมชาติและสารเคมีสังเคราะห์  ซึ่งก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป   อาหารและรวมไปถึงพืชผักผลไม้หลากหลายชนิดให้ประโยชน์ต่อกลไกการทำงานของร่างกายในแง่มุมที่แตกต่างกัน  บางชนิดให้พลังงานมาก บางชนิดช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค   และบางชนิดช่วยต่อต้านอุบัติการณ์และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรง  เช่น  โรคมะเร็ง   โรคหัวใจ  โรคเบาหวาน   ซึ่งการตรวจวัดค่า ORAC Score  ของอาหารแต่ละชนิดจะช่วยให้เราสามารถเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

                โดยปกติแล้ว   ค่าที่ได้จากการตรวจวัด  ORAC Score  จำเป็นที่จะต้องอิงกับมาตรฐานอย่างเดียวกันของแต่ละผลิตภัณฑ์   เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการเปรียบเทียบ  เช่นค่า  ORAC Score  ต่อน้ำหนักที่คิดเป็นออนซ์  (ใช้กับสินค้าที่เป็นของเหลว)  หรือ  ค่า ORAC Score  ต่อน้ำหนักของผลไม้ที่คิดเป็นกรัม   เมื่อต้องการเปรียบเทียบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของผลไม้ชนิดต่างๆ   ในกรณีเช่นนี้  ผลไม้ชนิดเดียวกันที่ผ่านกระบวนการอบแห้งก็จะมีค่า ORAC Score  มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว  เนื่องจากมีการระเหยน้ำออกไปซึ่งจะทำให้มีปริมาณเนื้อผลไม้มากขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำหนักที่เท่ากัน

                ดังนั้นการเข้าใจความหมายและวิธีการตรวจวัดค่า ORAC Score  จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง   และไม่ถูกหลอกลวงหรือถูกชี้นำด้วยวิธีการที่เจตนาลวงให้มีความเข้าใจผิด  โดยการเปรียบเทียบสินค้าของตนเองกับผลิตภัณฑ์อื่น  โดยใช้มาตรฐานที่ต่างกัน

                และสำหรับคำถามที่ว่าเราควรจะรับประทานอาหารให้ได้ปริมาณ  ORAC Score  เป็นจำนวนเท่าไรในแต่ละวัน  คำตอบอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล  ซึ่งอาจจะสามารถจำแนกตามช่วงอายุ  เช่น  เด็ก  วัยรุ่น   วัยทำงานและวัยชรา   หรืออาจจะจำแนกตามปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล  เช่นคนที่มีสุขภาพดีมาก  กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังรอรับการรักษา  หรือบุคคลที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มีไขมันสูง   พักผ่อนน้อย   พักอาศัยหรืออยู่ในเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมาก  จากผลการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีค่า  ORAC Score  สูงติดต่อกันจะสามารถเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ตรวจวัดได้ในเลือดถึง  25%  ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพหลายราย   ต่างก็เปิดเผยค่า  ORAC Score  ไว้ในฉลากผลิตภัณฑ์  เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารที่ดีและเหมาะสมในการดูแลสุขภาพต่อไป

มังคุด  (Garcinia Mangostana) (ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Garcinia Mangostana)  ได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีแห่งผลไม้ทั้งปวง  เนื่องจากมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว   อร่อย   และเมื่อวิทยาศาสตร์การอาหาร   วิทยาศาสตร์ชีวเคมี   และวิทยาศาสตร์การแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น  จึงมีการค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของผลมังคุดและสามารถระบุได้ว่ามีการค้นพบสารประกอบกลุ่มแซนโทน  (Xanthones)  ซึ่งจัดเป็นกลุ่มของสารอาหารจากพืชหรือไฟโตนิวเทรียน  (Phytonutrients)  ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเท่าที่ได้มีการค้นพบมา  (High  Antioxidants)   เป็นจำนวนมากอยู่ในผลมังคุด   โดยเฉพาะบริเวณเปลือกจะมีสารประกอบแซนโทนหนาแน่นที่สุด   ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นพิเศษของมังคุด
                สารแซนโทน (Xanthones)  ที่อยู่ในผลและกลีบเลี้ยงของมังคุดนั้นมีมากกว่า  40  ชนิดด้วยกัน  เช่น  Mangostins , Garcinone E , Gartanin , Mangostanol , Mangostenol  เป็นต้น   ซึ่งแต่ละตัวมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันออกไปและได้มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยจากทั่วโลกจำนวนมากได้ให้การยอมรับในคุณประโยชน์ของสารสกัดจากมังคุด  เช่น
·        ยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน  (Histamine)  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันและบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้  (Allergies) , อาการแพ้จากปฏิกิริยาภูมิไวเกินชนิดที่  1  (Hypersensitivity)
·        ยับยั้งการสังเคราะห์สารพลอสตาแกลนดินอีทู  (PGE2)  และออกฤทธิ์ยับยั้ง  COX-1 และ  COX-2  ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกระบวนการอักเสบ  ปวด  บวม  แดง  ร้อน  เช่น   การปวดอักเสบของกล้ามเนื้อและการปวดท้องประจำเดือน
·        ต่อต้านและยับยังการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเซลล์มะเร็งต่างๆ  ในระดับห้องปฏิบัติการ  เช่น  Cell  มะเร็งเต้านม, เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว , เซลล์มะเร็งตับ , เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร , เซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่
·        ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ  LDL (ซึ่งเป็นไขมันตัวร้าย)  จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิด  Stroke  (การอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ)
·        มีคุณสมบัติในการช่วยขยายหลอดเลือด  (Vasodition  Activities)   จึงมีผลช่วยให้ลดความดันโลหิต
·        ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด  เช่นเชื้อวัณโรค  (Mycobacterium  Tuberculosis) , เชื้อแบคทีเรียทรงกลม (Staphylococcus Aureus)  อันเป็นสาเหตุของการเกิดแผลหนองที่ผิวหนัง
·        ช่วยลดระดับของน้ำตาลในเลือด  กรณีศึกษาในห้องปฏิบัติการ  ภาวะโรคเบาหวานชนิดที่ 2*  (Type II)  *โรคเบาหวานมี  2  ชนิด  ได้แก่  Type I มักพบในคนอายุน้อย  และ  Type II  มักพบในผู้ใหญ่และคนอ้วน
·        มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรงเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นๆ  (Antioxidants)  จึงช่วยลดความเสี่ยงในการสะสมของอนุมูลอิสระ  อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแก่ก่อนวัย  (Aging)  , การเสื่อมของเซลล์ร่างกายจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เช่น  แสงแดด , มลพิษทางอากาศ  เป็นต้น
หมายเหตุ  :  สารสกัดจากมังคุดไม่ใช่ยารักษาโรค  ผู้ป่วยควรอยู่ในความดูแลของแพทย์  การดื่มสารสกัดจากมังคุดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพ

โกจิเบอร์รี่  (Goji  Berry)   หรือชื่อในภาษาละติน  คือ  ลีเซียม  บาร์บารุ่ม  (Lycium  Barbarum)  ผลไม้ที่พบและปลูกกันมากทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน  ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารจีนหลากหลายชนิดมาตั้งแต่ครั้งโบราณ  โดยมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย   บำรุงสายตา   ช่วยในการทำงานของระบบประสาท  ทำให้หลับสบาย  ช่วยในเรื่องไตบกพร่อง  บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ  หน้ามืด   สายตาไม่ดี   โดยเฉพาะอาการตาบอดกลางคืน  โกจิเบอร์รี่มีส่วนประกอบของกรดอะมิโนมากถึง  18  ชนิด  มีโปรตีนและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย  เช่น  เหล็ก , ทองแดง , สังกะสี , แคลเซียมและฟอสฟอรัส  มีวิตามิน A , B2 , C และมีสารประกอบโพลีแซ็คคาไรด์มากถึง  22  ชนิด  โดยในจำนวนนี้มี  4  ชนิด  ที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้   ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ของร่างกายทำงานสัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น

ทับทิม   (Pomegranate)   ผลไม้สีสวยที่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนแถบเปอร์เซีย  หรือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน  จากงานวิจัยจำนวนมากต่างยืนยันว่าผลทับทิมมีสารประกอบตามธรรมชาติในกลุ่มแซนโทน  โดยเฉพาะ  Hydrolysable  Xanthones   หรือสารประกอบแซนโทนในกลุ่มที่สามารถละลายน้ำได้อยู่ในปริมาณมาก  ซึ่งให้ประโยชน์ที่ชัดเจนแก่ร่างกาย  ไม่เพียงแต่ในด้านการป้องกันการเข้าทำลายเซลล์เนื้อเยื่อจากสารอนุมูลอิสระ  แต่ยังสามารถลดสภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด  ที่มีสาเหตุมาจากภาวะไขมันในเลือดสูง  ทับทิมจึงเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับการดูแลสุขภาพหัวใจและเส้นเลือดโดยตรง







ไม่มีความคิดเห็น:

Promotion