วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อันตราย! จากการทานยาลดไขมัน ยากลุ่ม Statin

อันตรายจากการทานยาลดไขมัน ยากลุ่ม Statin

ยากลุ่ม Statin


HMG CoA reductase inhibitor [ statin ]
ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย 
-Lovastatin[ 20-80 mg]
-Simvastatin [ 20-80mg ]
-Fluvastatin [20-80 mg ]
-Atrovastatin [10-80 mg]

ยาในกลุ่มนี้
ลด LDL ได้ร้อยละ 18-55% 
เพิ่ม HDL ได้ร้อยละ 5-15%
ลด TG ได้ร้อยละ 7-30%

พบว่าการให้ยานี้เพื่อลดไขมัน จะทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง
ผลข้างเคียงของยา จะทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อและตับ

ข้อห้าม
ใช้ในผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเฉียบพลัน และตับอักเสบเรื้อรัง และห้ามใช้ร่วมกับยา cyclosporin ยารักษาเชื้อรา ยาจะออกฤทธิ์ที่ตับทำให้ไขมัน LDL Chloresterol ลดลง

ประสิทธิภาพของยา
หากสามารถลดไขมัน LDL ได้ประมาณ 40 มก % จะสามารถ 
ลดอัตราการเสียชีวิตได้ร้อยละ 10 
ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจลงร้อยละ 20 
ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจได้ร้อยละ 23 
ลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 17

เมื่อไรจึงจะใช้ยา Statin
การจะใช้ยา Statin เพื่อลดไขมันในเลือดมีองค์ประกอบที่พิจารณาอยู่สองประการ

ประการแรกคือระดับไขมันในเลือด
ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
ไขมันในเลือดสูงจะหมายถึงระดับ total cholesterol level เท่ากับหรือมากกว่า 240 (mg/dL) หรือไขมัน low-density lipoprotein cholesterol (LDL, or “bad” cholesterol) เท่ากับหรือมากกว่า 130 mg/dL แพทย์จะรักษาไขมันในเลือดสูงจะต้องมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 

ปัจจัยเสี่ยงได้แก่
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคไขมันหรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ความดันโลหิตสูง
  • สุขภาพโดยทั่วไปไม่ดี
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  • สูบบุหรี่
  • โรคหลอดเลือดแข็ง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรักษาไขมันในเลือดสูง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะเป็นวิธีการรักษาหลักในการลดไขมันในเลือด วิธีการได้แก่
หยุดสูบบุหรี่
รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
ออกกำลังกายวันละ 30 นาที
การจัดการเรื่องความเครียด

หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วระดับไขมัน (LDL) cholesterol ของท่านยังสูง และหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดไขมัน statin เพื่อรักษาไขมันในเลือด
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ดื่มสุราอย่างมาก
  • เครียด
  • อายุมาก
  • สูบบหรี่
  • โรคหลอดเลือดแข็ง
  • รักษาไขมันในเลือดแล้วจะหยุดยาลดไขมันได้หรือไม่

การจะพิจารณาว่าจะหยุดยาหรือไม่ มีหลักพิจารณาอยู่หลายประการ
ระดับไขมันก่อนการรักษา หากไขมันก่อนการรักษาสูงมาก การควบคุมโดยใช้การออกกำลังกายและการคุมอาหารอาจจะไม่เพียงพอ อาจจะจำเป็นต้องใช้ยา
ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หากมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูงก็ไม่ควรหยุดยา
โรคประจำตัว หากท่านมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงของยา ถ้าไขมันไม่สูงมาก และท่านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดี ก็อาจจะหยุดยาได้
แต่หลังจากหยุดยาหรือลดยาท่านจะต้องปรับพฤติกรรม และไปตามแพทย์นัด

ผลข้างเคียงของยา
กล้ามเนื้ออักเสบ พบได้ไม่บ่อย หากไม่จัดการก็อาจจะกลายเป็นกล้ามเนื้อถูกทำลายมากจนไตวาย ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้แก่
  • อายุมาก
  • รูปร่างเล็ก
  • เพศหญิง
  • เป็นโรคตับหรือโรคไต
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
  • ดื่มสุรา
  • รับประทานยาหลายชนิด

อาการปวดกล้ามเนื้อพบได้ร้อยละ 5 - 10 โดยมีอาการที่สำคัญคือปวดกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปเจาะเลือดหาระดับCPK มักจะไม่สูง หากผู้ป่วยปวดไม่มากขึ้น และทนอาการปวดได้ก็แนะนำให้รับประทานยาต่อ หากปวดมากขึ้นจนทนไม่ได้หรือค่า CPK สูงก็ให้หยุดยา

ตับอักเสบ
พบว่าเกิดตับอักเสบร้อยละ 0.5-2%โดยจะต้องตรวจเลือดพบว่าค่า SGOTสูงมากว่าค่าปกติ 3เท่า 2 ครั้งห่างกันเป็นสัปดาห์ เมื่อลดขนาดของยาค่านี้ก็จะลดลง

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยแต่ไม่อันตรายได้แก่
ปวดกล้ามเนื้อ พบบ่อยที่สุด
คลื่นไส้
ท้องร่วง
ท้องผูก

ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
ตับอักเสบเฉียบพลัน หากค่าผลเลือดไม่สูงมากก็รับประทานยาต่อ ยาที่จะส่งเสริมทำให้เกิดตับอักเสบได้แก่gemfibrozil และ niacin

ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หากรับประทานยาในขนาดสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ ในรายที่รุนแรงกล้ามเนื้อจะตาย และทำให้เกิดไตวาย
เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
มีรายงานว่ายานี้อาจจะทำให้ความจำเสื่อม แต่เมื่อหยุดยาอาการก็กลับสู่ปกติ
simvastatin atrovastatin rosuvastatin lovastatin
การใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น
ยานี้หากใช้ร่วมกับ gemfibrozil จะทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบเพิ่มมากขึ้น สำหรับยา fenofibrate, bezafibrate, หรือ ciprofibrate เกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้น้อย
อยากให้อ่านทำความเข้าใจครับว่า “ยา” ก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป แล้วถ้าไม่ต้องทานยา จะทำอย่างไร? 
Click มาเพื่อดูว่าไม่ต้องทานยาต้องทำอย่างไร Detox หลอดเลือด

ไม่มีความคิดเห็น:

Promotion