วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เวลาเดินแล้วปวดน่อง ร่างกายกำลังส่งสัญญาณบอกอะไร?




“เวลาเดินไปสัก ๓๐-๔๐ เมตรจะมีอาการปวดน่อง ต้องหยุดสักพัก ค่อยเดินต่อได้ นึกว่าเป็นอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ได้กินยาคลายกล้ามเนื้อ ก็ไม่ดีขึ้น เป็นมาได้หลายเดือนแล้ว คุณคิดว่าอาการที่เป็นนี้เกิดจากโรคอะไร”


“อาการปวดน่องเวลาเดินและจะดีขึ้นเวลาพัก จนต้องคอยหยุดพักเป็นระยะๆ น่าจะเป็นเพราะหลอดเลือดแดงส่วนขาตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงได้น้อยลง เวลาเดินกล้ามเนื้อต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น เมื่อเลือดไปเลี้ยงได้ไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อน่องจึงเกิดภาวะขาดเลือด เกิดอาการเจ็บปวดขึ้นทันที แต่เมื่อหยุดพัก กล้ามเนื้อก็ลดความต้องการเลือดที่ไปเลี้ยง ไม่เกิดภาวะขาดเลือด อาการเจ็บปวดก็ทุเลาไปได้ทันที” ผมอธิบาย “สาเหตุที่หลอดเลือดขาตีบน่าจะเกี่ยวกับความมีอายุมาก ร่วมกับน้ำหนักตัวมากเกิน และโรคเบาหวานที่รักษาได้ไม่เต็มที่”
ระบบหลอดเลือดหรือระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งประกอบด้วยหัวใจ (ทำหน้าที่เหมือนเครื่องสูบน้ำ) กับเครือข่ายหลอดเลือด (เปรียบเหมือนระบบท่อประปา) มีหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจน สารอาหารและสารที่จำเป็นไปเลี้ยงเนื้อเยื่ออวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย 
ผู้ชายอายุมากกว่า ๕๕ ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า ๖๕ ปี หลอดเลือดก็จะเริ่มเสื่อมตามสังขาร โดยผนังหลอดเลือดเริ่มแข็งและหนาตัวเนื่องจากมีไขมันไปเกาะตัวอยู่ภายในผนังหลอดเลือด 
ภาษาแพทย์เรียกว่า “ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง” (atherosclerosis)
ภาษาชาวบ้านอาจเรียกว่า “ภาวะหลอดเลือดแดงมีตะกรันเกาะ” (คล้ายท่อประปาที่ใช้งานนานๆ เข้า มีตะกรันเกาะ ทำให้น้ำไม่ไหลหรือไหลได้อ่อน)
photogrid_1470706502653.jpg
สาเหตุเพราะ Nitric Oxide ที่ร่างกายผลิตออกมาได้นั้น ได้ลดลงไปตามวัย
Nitric Oxide คือ แก๊สจำเป็นชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราผลิตเองได้ เป็นปัจจัยสำคัญของระบบเส้นเลือด ซึ่งระบบสุขภาพของคนเราต้องพึ่งพาในระยะยาว….
Nitric oxide เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ผลิตโดยเซลล์ที่บุผิวชั้นในของเส้นเลือด (endothelium) ที่อยู่ในกายของเรา ทำหน้าที่ควบคุมความดันของเลือด ควบคุมไม่ให้เกิด ก้อนเลือดที่เป็นเหตุให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดสมอง หัวใจ และเส้นเลือดแข็ง (artherosclerosis)
Nitric oxide จะเคลื่อนผ่านแผ่นเยื่อ membrane ด้วยคลื่นข้อมูลข่าวสารทางชีวภาพ ที่มีผลกระทบ ต่ออวัยวะทุกชนิดของร่างกาย เช่น ปอด ตับ กระเพาะ อวัยวะสืบพันธุ์ และ ไต
เมื่อร่างกายของคนเราสมบูรณ์ เส้นเลือดสมบูรณ์ และแน่นอน เซลล์ที่บุชั้นในของเส้นเลือดก็ย่อม สมบูรณ์ และสามารถสร้าง Nitric oxide ได้เต็มที่
Nitric Oxide ที่ร่างกายผลิตได้ในแต่ละช่วงอายุ
– ช่วงอายุ 20 ปี ร่างกายผลิตได้ 100 %
– ช่วงอายุ 30 ปี ร่างกายผลิตได้ 80 %
– ช่วงอายุ 40 ปี ร่างกายผลิตได้ 50 %
– ช่วงอายุ 50 ปี ร่างกายผลิตได้ 35 %
– ช่วงอายุ 60 ปี้นไป ร่างกายผลิตได้ 15 %
“อยากให้ร่างกายเรามี Nitric Oxide เราต้องรับประทานอาหารประเภทที่มี
L- Arginine เพื่อที่มันจะได้เปลี่ยนไปเป็นสาร Nitric oxide ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมหาศาล”
คงไม่ต้องกล่าวนะว่า…ทำอย่างไร ร่างกายจึงจะสมบูรณ์ เมื่อเซลล์บุผิวของเส้นเลือด (endothelium) สมบูรณ์ มันก็สร้าง Nitric Oxide ออกมา และส่งให้ไหลเวียน ไปตามกระแสเลือด สู่อวัยวะทั่วร่างกาย
หาก “ตะกรัน” ที่เกาะค่อยๆ พอกพูนหนาตัวมากขึ้นจนท่อตีบ เลือดก็จะไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ได้น้อยลงจนทำให้อวัยวะต่างๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงและค่อยๆ เสื่อมหรือถูกทำลาย จนเกิดภาวะเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งครอบคลุมได้แทบทุกส่วนของร่างกาย ที่สำคัญ ได้แก่ 
 สมอง เมื่อขาดเลือด ทำให้เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ สมองเสื่อม ความจำเสื่อม
 หัวใจ เมื่อขาดเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (โรคหัวใจวายกะทันหัน)
 จอประสาทตา เมื่อขาดเลือด ทำให้ตามัว ตาบอด
 ไต เมื่อขาดเลือด ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย
 ขา เมื่อขาดเลือด ทำให้ปลายเท้าชา เป็นตะคริวตอนดึก มีอาการปวดน่องเวลาเดินมาก
 องคชาต เมื่อขาดเลือด ทำให้องคชาตไม่แข็งตัว (นกเขาไม่ขัน)
   
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งอาจมีโอกาสเกิดได้มากขึ้นหรือเกิดได้เร็วขึ้นก่อนช่วงอายุดังกล่าว ถ้าคนคนนั้นมีปัจจัยเสี่ยง เช่น
 มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง และ/หรือหลอดเลือดส่วนอื่นตีบก่อนอายุ ๕๕ ปีในผู้ชาย หรือ ๖๕ ปีในผู้หญิง
 มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า ๓๐ กก./เมตร๒) สูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย
 มีประวัติเป็น “กลุ่มอาการเมตาบอลิก (metabolic syndrome)” หมายถึงเริ่มมีความผิดปกติของความดันเลือด น้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือดในขั้นก้ำกึ่ง (ยังไม่สูงถึงเกณฑ์ที่ถือว่าเป็นโรค) รวมทั้งลงพุง โดยมีค่าผิดปกติอย่างน้อย ๓ ข้อใน ๕ ข้อต่อไปนี้
(๑) ความดันเลือดมีค่าเท่ากับ ๑๓๐/๘๕ มม.ปรอทหรือมากกว่า
(๒)  ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเท่ากับ ๑๐๐ มก./ดล.หรือมากกว่า
(๓)  ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมีค่าเท่ากับ ๑๕๐ มก./ดล.หรือมากกว่า
(๔) ระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดมีค่าต่ำกว่า ๔๐ มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ ๕๐ มก./ดล.ในผู้หญิง
(๕)  เส้นรอบเอวมีค่าเท่ากับ ๘๐ ซม.ในผู้หญิง หรือมากกว่า ๙๐ ซม.ในผู้ชาย หรือมากกว่า       ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากอย่างเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมากขึ้นเท่านั้น ดังเช่นกรณีของคุณลุงที่มีอายุมาก (เกือบ ๗๐ ปี) ร่วมกับเป็นเบาหวาน และน้ำหนักเกิน ถ้าหากมีประวัติสูบบุหรี่ ความดันเลือดสูง และ/หรือไขมันในเลือดสูง ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้มากขึ้นหรือเร็วขึ้น
การดูแลหลอดเลือดแดงให้ดี คือ ป้องกันไม่ให้เสื่อมเร็วหรือเสื่อมมาก จึงมีส่วนช่วยให้มีชีวิตยืนยาวได้
ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้วิธีดูแลหลอดเลือดตนเอง โดยหลีกเลี่ยงหรือควบคุมปัจจัยเสี่ยง ยกเว้นปัจจัยด้านอายุและพันธุกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา
ในการดูแลหลอดเลือดไม่ให้เสื่อมเร็ว สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 ไม่สูบบุหรี่
 ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕ วัน
 กินอาหารสุขภาพโดยเน้นธัญพืช ผัก ผลไม้ให้มากๆ กินโปรตีนจากปลา ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ไข่ นมพร่องไขมัน ลดเนื้อแดง (หมู วัว) ลดไขมัน น้ำตาลและของหวาน
 ตรวจเช็กสุขภาพ หากพบว่าเป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ก็รู้จักดูแลรักษาจนสามารถควบคุมได้ดีอย่างต่อเนื่อง
แล้วเราจะหา L-Arginine ที่จะช่วยกระตุ้น Nitric Oxide ทานได้จากไหน?

ไม่มีความคิดเห็น:

Promotion