วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รอบรู้เรื่อง...โปรตีน

รอบรู้เรื่อง...โปรตีน


     โปรตีนช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และที่สำคัญใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในร่างกายของคนเรานั้นมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ กล้ามเนื้อมีโปรตีนมากถึง 1 ใน 3 ในกระดูกมีโปรตีนประมาณ 1 ใน 5 และผิวหนังมีโปรตีนประมาณ 1 ใน 10
     โครงสร้างโปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโน หลายชนิด เชื่อมต่อกันด้วย พันธะเปปไทด์ เป็นโพลิเมอร์สายยาว ร่างกายมีเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนเหล่านี้อยู่ในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ได้กรดอะมิโนต่างๆ และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในที่สุด กรดอะมิโน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.กรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการทานสารอาหารเข้าไป มีทั้งหมด 9 ชนิด
ฮิสติดีน (Histidine)
ไอโซลิวซีน (Is0leucine)
ลิวซีน (Leucine)
ไลซีน (Lysine)
เมไธโอนีน (Methionine)
เฟนิลอะลามีน (Phenylalanine)
ธรีโอนีน (Thereonine)
วาลีน (Valine)
ทริปโตเฟน (Tryptophan)
2.กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-Esential Amino Acid) คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง มีทั้งหมด 11 ชนิด
อะลานีน (Alanine)
อาร์จินีน (Arginine)
แอสพาราจีน (Asparagine)
กรดแอสพาร์ติก (Asparatic Acid)
ซีสตีน (Cystein)
กลูตามีน (Glutamine)
ไกลซีน (Glycine)
โพรลีน (Proline)
ซีรีน (Serine)
ไทโรซีน (Thyrosine)

     โปรตีนจากพืช : พบมากในกลุ่มพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง โปรตีนจากถั่วเหลือง มีปริมาณของกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิด คือ เมไธโอนีน (Methionine) ในปริมาณจำกัด และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ต่ำกว่าโปรตีนจากนม เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะต้องอาศัยการย่อย และการดูดซึม ถั่วเหลือง เป็นพืชที่มีปริมาณโปรตีน ประมาณ 35 - 38% ของน้ำหนัก แต่เมื่อเทียบสัดส่วนของปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นแล้ว จะน้อยกว่าโปรตีนที่มาได้จากนม ซึ่งการบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองนั้น จะมีปัญหาของกรดอะมิโนจำเป็นจำกัด

     โปรตีนจากสัตว์ : ได้จาก นม ไข่ เนื้อสัตว์ และเนื้อปลา มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนทั้ง 9 ชนิดและมีปริมาณของโปรตีนเข้มข้นกว่าโปรตีนที่มาจากพืช โดยเฉพาะนมเป็นโปรตีนจากสัตว์ที่มีความสมบูรณ์ ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากถึง 100% มีกรดอะมิโนครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสม ในนมจะมีโปรตีนประมาณ 32 กรัม / ลิตร และมีโปรตีนที่ ชื่อว่า เคซีน (Casien) เป็นองค์ประกอบหลักสูงถึง 80% ทำหน้าที่ ลำเลียงแคลเซียม และฟอสฟอรัส เพื่อให้โปรตีนจับตัวเป็นก้อน ในกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยโปรตีนให้ดีขึ้น

     โปรตีน เป็นขุมทรัพย์สำคัญ ในการที่ร่างกายจะนำมาสร้างเป็นกระดูกอ่อน ซึ่งถือว่าเป็นกระดูกหลักของความสูงในแต่ละคน และที่สำคัญโปรตีนที่จะช่วยในด้านความสูง จะต้องเป็นโปรตีนที่มาจากสัตว์เท่านั้น เนื่องจากเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนครบถ้วน และเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในกระบวนการสร้างกระดูกอ่อน ยิ่งเราทานโปรตีนมากเท่าไหร่ ร่างกายของเรายิ่งสามารถสร้างกระดูกอ่อนได้ยาวขึ้นเท่านั้น ถ้ากระดูกอ่อนยาวขึ้น ความสูงของเราก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการรับประทานโปรตีนในวัยเด็กนั้น ไม่มีคำว่ามากเกินไป มักจะมีแต่คำว่าน้อยเกินไป เพราะในปัจจุบัน เด็กส่วนใหญ่นั้น จะรับประทานอาหารจำพวก แป้ง และน้ำตาลเสียมากกว่า เราสามารถเสริมโปรตีน ให้กับเด็กได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เป็นต้นไป และถ้ายิ่งต้องการเสริมความสูงแล้ว เราควรรับประทานโปรตีนควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถสูงได้มากกว่า ข้อจำกัดทางกรรมพันธุ์ของพ่อแม่ โดยจะทำให้เด็กนั้นสามารถเพิ่มความสูงขึ้นได้มากกว่าปกติถึง 20% เลยทีเดียว




ไม่มีความคิดเห็น:

Promotion