โรคตับ
อวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งของร่างกายเรา อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา มีหน้าที่ในการผลิตน้ำดี เพื่อไปย่อยอาหารประเภทไขมัน และกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายของเรา นอกจากนี้ยังช่วยผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือดได้อีกด้วย ส่วนโรคเกี่ยวกับตับนั้นมีหลายชนิด ทั้งตับอักเสบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือจากสารพิษ กรรมพันธุ์ หรือภาวะภูมิแพ้ตนเอง ตับแข็งนั้นเกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อแข็งที่ทดแทนเซลล์ตับที่ตายไปแล้ว โดยมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส ภาวะพิษสุราเรื้อรัง หรือการที่ได้รับสารพิษต่างๆ ผู้ป่วยโรคตับนั้นมักจะไม่มีอาการที่ชัดเจน กว่าจะตรวจพบว่าเป็นโรคตับก็สายไปแล้ว
ผู้ป่วย โรคตับแข็ง ในระยะแรก มักจะไม่มีอาการที่เห็นได้ชัดเจน อาจจะมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย จึงไม่ค่อยรู้สึกตัวว่ามีความผิดปกติใดๆที่ตับ แต่พอเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเกิดอาการของตับแข็ง คือ ผู้ป่วยก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง ท้องโตขึ้น ขาบวม คลื่นไส้ เบื่ออาหารและทำให้น้ำหนักลด อาจจะรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงขวาเล็กน้อยและมีอาการคันตามตัว
โรคตับ
โรคตับ
สำหรับในผู้หญิงที่เป็น โรคตับแข็ง อาจจะมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรืออาจจะมีเสียงแหบแห้งคล้ายผู้ชาย
สำหรับ ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อตัว บางคนอาจจะสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอกหรือหน้าท้อง เป็นต้น
1) ตัวเหลือง ตาเหลือง เพราะตับไม่สามารถที่จะขับน้ำดีออกมาได้
2) มีอาการคันตามร่างกาย เพราะมีน้ำดีสะสมอยู่ตามบริเวณผิวหนัง
3) เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
4) ทำให้มีอาการบวมหลังเท้า แขนขา และท้อง เพราะตับนั้นจะไม่สามารถสร้างไข่ขาว (หรือโปรตีนในเลือด) ได้
5) ทำให้เลือดออกได้ง่าย เพราะตับจะไม่สามารถสร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้
6) อาจจะสูญเสียความสามารถเกี่ยวกับความจำหรือสติ เพราะจะเกิดการคั่งของของเสีย
7) ผู้ป่วยจะไวต่อยามากขึ้น ดังนั้นการให้ยากับผู้ป่วยโรคตับแข็ง จะต้องระวังการเกิดยาเกินขนาด เพราะตับจะไม่สามารถทำลายยาได้เลย แม้แต่การให้ยาให้ขนาดปกตินั้นก็ต้องระวังด้วย
8) ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือด เพราะตับแข็งทำให้ความดันในตับสูง จนทำให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารนั้นมีความดันสูง และถ้าหากมีความดันสูงมาก อาจจะทำให้หลอดเลือดดำแตกได้
9) สามารถติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีภูมิคุ้มกันลดลง อาจจะเป็นท้องมานหรือไตวายได้
โรคตับ
1) มีอาการเครียด ขี้หงุดหงิด อารมณ์ฉุนเฉียวและตกใจง่าย
2) มีอาการปวดแน่นชายโครงเป็นบางครั้ง และมีอาการตึงเกร็งที่กล้ามเนื้อช่องท้องหรือปวดท้องน้อยบ่อย และรู้สึกร้อนวูบวาบที่ช่องอก
3) มักจะนอนหลับยาก มักจะง่วงนอนตอนกลางวัน และมีอาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง
4) จะรู้สึกว่ามีอะไรจุกอยู่ในคอหอย กลืนก็ไม่ลงหรือจะคายก็ไม่ออก และทำให้เบื่ออาหาร มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย
5) มีผิวหน้าซีดเหลือง จะไม่มีเลือดฝาดและมีฝ้าบนใบหน้า
6) บริเวณมุมปากและริมฝีปากจะหมองคล้ำ ส่วนลิ้นจะออกสีม่วงคล้ำ และขอบลิ้นจะมีรอยกดทับของฟัน
7) มีอาการเจ็บหรือคัดเต้านม โดยจะเป็นหนักขึ้นช่วงก่อนจะมีประจำเดือนสำหรับผู้หญิง และสำหรับผู้ชายจะปวดหน่วงอัณฑะ
8) จะรู้สึกหายใจไม่เต็มท้อง จึงต้องถอนหายใจบ่อยๆ
9) มีอาการท้องร่วงหรืออุจจาระหยาบและไม่จับตัวเป็นก้อน
1) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะการที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ จะทำให้เกิดความผิดปกติในการใช้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในตับ จึงทำให้เกิดภาวะตับอักเสบและเรื้อรังได้จนกลายเป็นโรคตับแข็ง และผู้หญิงจะเป็นโรคตับแข็งได้มากกว่าผู้ชาย
2) การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซี จนทำให้ตับอักเสบเป็นเวลานานหลายปี ก่อนที่จะกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ไวรัสตับอักเสบบีและซีเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันทางเลือดและการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเป็นพาหะนั้นมักเกิดโดยไม่รู้ตัว
3) เกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนหรือไขมันในเลือดสูง
4) จากการรับประทานยาบางชนิด และทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด
5) โรคทางพันธุกรรมบางโรคที่ทำให้เกิดตับแข็ง เช่น โรคทาลัสซีเมีย
6) ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง จะทำให้เส้นเลือดคั่งที่ตับ และเลือดไหลเวียนในตับน้อยลง จึงทำให้เนื้อตับขาดภาวะออกซิเจนจนตายลง
7) พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในเลือดอาจจะทำให้เกิดตับแข็ง
ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะปรากฏอาการเริ่มแรกนั้นในช่วงอายุระหว่าง 40 - 60 ปี แต่ถ้าพบในคนอายุน้อยก็ มักจะมีสาเหตุจากตับอักเสบจากเชื้อไวรัส และมีอาการค่อนข้างรุนแรง
1) หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ห้ามดื่มโดยเด็ดขาด
2) ให้ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบจากไวรัสบี ซึ่งนิยมฉีดกันตั้งแต่แรกเกิด
3) ต้องระมัดระวังการใช้ยาที่มีพิษต่อตับ
โรคตับ
เนื่องจากตับนั้นมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง รวมทั้งสร้างการทำลายและเผาผลาญสารต่างๆ ในร่างกายรวมทั้งอาหารด้วย และเมื่อผู้ป่วยมีตับแข็ง ตับจะสูญเสียหรืออาจจะมีความบกพร่องในการทำงาน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยและญาติที่จะต้องช่วยดูแลในการปฏิบัติของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ดังนี้
เนื่องจากตับนั้นมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง รวมทั้งสร้างการทำลายและเผาผลาญสารต่างๆ ในร่างกายรวมทั้งอาหารด้วย และเมื่อผู้ป่วยมีตับแข็ง ตับจะสูญเสียหรืออาจจะมีความบกพร่องในการทำงาน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยและญาติที่จะต้องช่วยดูแลในการปฏิบัติของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ดังนี้
1) การรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยตับแข็งในระยะที่ตับยังสามารถทำงานได้ดี และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ และควรรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนประมาณวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งประมาณ 60 กรัมต่อวัน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะตับจะทำหน้าที่ย่อยไขมันได้น้อยลง และควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ โดยใช้ไขมันพืชแทน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เพราะในอาหารมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบและอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการบวม อาการท้องมานเลวลง โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำให้รับประทานเกลือได้แต่ไม่เกินวันละ 2 กรัม เทียบเท่ากับเกลือป่นประมาณ เศษหนึ่งส่วนสามช้อนชาต่อวัน
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ชื้น เช่น พริกป่น ถั่วป่น เพราะเป็นแหล่งของสารอะฟลาท็อกซิน จะทำให้ตับทำงานมากขึ้น และทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับมากขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่เก็บค้างคืน อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ลวกและย่าง
2) หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว ควรหลีกจะเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุราทุกชนิด เพราะอาจจะทำให้โรคตับแย่ลง นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแตกของเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
3) ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยตับแข็งที่ตับยังสามารถทำงานได้ดีก็สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติเพียงแต่ไม่หักโหมจนเกินไป และควรพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ในกรณีที่ตับทำงานไม่ปกติแล้วควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น การวิ่งเหยาะๆ หรือการเดินเร็ว ถ้าหากรู้สึกเพลียก็ควรพัก และที่สำคัญควรต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุ เพราะผู้ป่วยตับแข็งอาจจะมีเกล็ดเลือดต่ำและมีการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เลือดออกง่ายและหยุดยาก
4) การใช้ยาและสารเคมี ผู้ป่วยตับแข็งควรจะหลีกเลี่ยงการรับประทานยาถ้าไม่จำเป็นและยาสมุนไพรต่างๆ เพราะยาหลายชนิดจะถูกทำลายที่ตับ และยาหลายชนิดเองก็อาจจะทำให้เกิดตับอักเสบ ดังนั้นการใช้ยาควรใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้และภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
5) การฉีดวัคซีน ผู้ป่วยตับแข็งนั้นควรตรวจเลือดดูว่าเคยมีการติดเชื้อไวรัสบีและไวรัสเอ หรือไม่ ถ้าไม่ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะถ้าเกิดว่าติดเชื้อตับอักเสบฉับพลันจากไวรัสเอ และไวรัสบีในผู้ป่วยตับแข็ง จะมีโอกาสในการเกิดตับวายและอาจเสียชีวิตได้สูง
6) การเฝ้าระวัง ผู้ป่วยตับแข็งควรจะติดตามการดูแลรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด และควรจะมีการเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับ โดยวิธีการเจาะเลือดตรวจดูค่า AFP ซึ่งจะเป็น marker ของมะเร็งตับชนิดหนึ่งและการตรวจอัลตร้าซาวด์ดูตับทุก 6 เดือน และในกรณีที่ผู้ป่วยตับแข็งต้องได้รับการตรวจหรือการทำหัตถการต่างๆ เช่น การถอนฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะจะมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่ต้องเตรียมการผู้ป่วยเป็นพิเศษ
7) ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตตามอน ยังเป็นยาที่ปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้ป่วยตับแข็งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ มากกว่าคนปกติทั่วไป จึงควรรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอนได้ไม่เกิน 5 เม็ดต่อวัน และแนะนำให้รับประทาน ขนาด 500 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด แต่จะรับประทานซ้ำได้ 1 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง และในส่วนของยารักษาโรคตับที่แพทย์จัดให้นั้นควรรับประทานอย่างสม่ำเสมอ และยาบางชนิดเช่น ยาป้องกันเส้นเลือดโปร่งพองแตก แต่ถ้ารับประทานไม่สม่ำเสมอก็อาจจะมีผลเสียมากกว่า
8) รับประทานวิตามิน ผู้ป่วยตับแข็งนั้นมักจะขาดวิตามินหลายชนิด ดังนั้นควรจะรับประทานวิตามินเสริมร่วมด้วย ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรจะรับประทานวิตามินที่ละลายในไขมันเอง เช่น วิตามินเอ วิตามินอี เพราะวิตามินที่ละลายในไขมันนั้นถ้ารับประทานมากจนเกินไปก็จะมีการสะสมที่ตับ และอาจจะมีผลเสียต่อตับเอง และนอกจากนี้ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ขาดธาตุเหล็กก็ไม่ควรจะรับประทานเหล็กเสริมเข้าไป เพราะเหล็กจะทำให้เกิดการสร้างผังผืดในตับมากขึ้น
ด้วยความปรารถนาดีจาก
#โค้ชเกมส์
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยสารอาหารจำเป็นคุณภาพสูง
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น