วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

มาทำความรู้จัก กรดอะมิโน กับ เวย์ โปรตีน ว่าจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย

กรดอะมิโนคืออะไร?
     กรดอะมิโน เป็นโมเลกุลที่เป็นหน่วยย่อยของโปรตีนในร่างกายของเรา เมื่อโมเลกุลเล็กๆเหล่านี้มารวมตัวกันจะเกิดเป็นโปรตีนใหม่(โปรตีนมีหลาย ชนิด) ซึ่งโปรตีนเป็นสารอาหารที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย มีอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ โปรตีนจะไปสร้างโมเลกุล เส้นเอ็น อวัยวะ ข้อต่อ เล็บ ผม การเจริญเติบโต และ การซ่อมแซมเซลล์ ไปจนถึงเป็นหลักสำคัญต่อการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น การผลิตเซลล์และฮอร์โมน เกล็ดเลือด ภูมิคุ้มกันโรค และช่วยในการทำงานของสารสื่อระบบประสาท ในตอนที่เราทานโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ฯลฯ ร่างกายจะย่อยสลายโปรตีนเหล่านั้นให้เป็นหน่วยเล็กที่สุดเรียกว่า "กรดอะมิโน" และจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปใช้ประโยชน์ในเซลล์ต่างๆ ในกรณีมีกรดอะมิโนมากเกินไปกรดอะมิโนส่วนเกินจะถูกขับออกจากร่างกายทาง เหงื่อและปัสสาวะ ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมกรดอะมิโนไว้ใช้ต่อไปได้เหมือนสารอาหารอื่น เช่น คารโบไอเดรต

กรดอะมิโนแบ่งกลุ่มได้อย่างไรและมีกี่ชนิด

     กรดอะมิโน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กรดอะมิโนจำเป็น และ กรดอะมิโนไม่จำเป็น โดยรวมมีอยู่ด้วยกัน 20 ชนิด



1. กรดอะมิโนจำเป็น

     กรดอะมิโนจำเป็นคือกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตมาใช้ได้เองต้องได้รับ จากอาหารที่เราทานเข้าไป มีอยู่ 9 ชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดจะมีประโยชน์กับร่างกายต่างกันออกไปประกอบไปด้วย

ฮิสติดีน (HISTIDINE)

     พบมากในเม็ดเลือดแดง ช่วยบำบัดโรค ไขข้ออักเสบ ภูมิแพ้ กระเพราะอักเสบ โลหิตจาง จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และ ซ่อมแซม เนื้อเยื้อ สำคัญต่อการดูแลรักษาเยื่อไมอีลิน เพื่อ ป้องกัน เซลประสาท ช่วยในการผลิตของเม็ดเลือดแดง และ เม็ดเลือดขาว ช่วยเหลือป้องกันร่างกายจากการแผ่รังสี ช่วยเรื่องการกำจัดสารหนักออกจากร่างกาย บางการวิจัยรายงานว่าช่วยเรื่องอารมณ์ทางเพศด้วย

ไอโซลิวซีน (ISOLEUCINE)

     มีส่วนช่วยสำหรับรูปร่างของเม็ดเลือดแดง ควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื้อกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และ กระดูก

ลิวซีน (LEUCINE)

     เมื่อลิวซีนทำงานคู่กับ ไอโซลิวซีน และ วาลีน ช่วย รักษาเนื้อเยื้อกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และ กระดูก ลดนำตาลในเลือด ช่วยในด้านการเพิ่มการผลิตโฮร์โมนการเจริญเติบโต

ไลย์ซีน (LYSINE)

     ช่วยระบบการดูดซึม แคลเซียม รักษาสมดุลของไนโตรเจน ช่วยผลิตแอนตี้บอดี้ ลดไตรกลีเซอไรด์

เมธิโอนีน (METHIONINE)

     ต่อต้านอนุมูลอิสละ และ เป็นแหล่งของซัลเฟอร์เพื่อช่วยป้องกันความผิดปกติของ ผม ผิวหนังและเล็บ ช่วยลดไขมัน ช่วยป้องกันไขมันสะสมในตับและในเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ซึ่งทำช่วยขจัดสารพิษ ช่วยลดความเสียหายของกล้ามเนื้อ ช่วยส่งเสริมการขับฮอร์โมนเอสโตรเจน ลดฮิสตามีน ช่วยเหลืออาการป่วยด้านจิตเพศ

เฟนิลอะลานีน (PHENYLALANINE)

     สมองจะใช้ในการสร้างนอเอพิเนฟริน เพื่อใช้ในการส่งสัญญานระห่างเซลประสาทในสมอง ช่วยกระตุ้นความตื่นตัวให้รู้สึกมีพละกำลัง ลดความเจ็บปวด ช่วยในการเรียนรู้ การจดจำ ใช้ในการรักษา ภาวะข้อต่ออักเสบ โรคซึมเศร้า การปวดประจำเดือน ไมเกรน ความอ้วน โรคพาร์กินสัน

ธรีโอนิน (THREONINE)

     ช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับโครงสร้างรูปร่างของโคลลาเจน อีลาสติน เมื่อรวมตัวกับ กรดแอสพาร์ติก และ เมธิโอนีนจะช่วยให้ไชะลอการสร้างไขมันในตับ ช่วยเหลือระบบเมตาโบลิซึม และ การย่อยการดูดซึม

ทริปโตเฟน (TRYPTOPHAN)

     ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ลดความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และ ทำให้อารมณ์คงที่ ช่วยในการรักษาอาการ ปวดหัว ไมเกรน ช่วยระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานถูกต้อง ช่วยให้ควบคุมน้ำหนักโดยการลดความอยากเพิ่มโฮร์โมนการเจริญเติบโต ช่วยควบคุมอาการไฮเปอร์แอ้คทีฟ ในเด็ก

วาลีน (VALINE)

     ช่วยในการเผาผลาญพลังงานในกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ดูแลรักษาความสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย ใช้เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งด้านจิตใจ ช่วยสงบสติอารมณ์

2. กรดอะมิโนไม่จำเป็น

     กรดอะมิโนไม่จำเป็น ที่เรียกอย่างนี้เพราะร่างกายสามารถผลิตได้เอง ในผู้ใหญ่ปกติไม่ค่อยพบว่ามีใครขาดแคลนกรดอะมิโนเหล่านี้ นอกจากเด็กทารกและคนป่วย ซึ่งอาจผลิตกรดอะมิโนได้ไม่เพียงพอ กรดอะมิโน มีอยู่ 11 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ 
อะลานีน (Alanine) 
อาร์จินีน (Arginine) 
แอสพาราจีน (Asparagine) 
กรดแอสพาติก (Aspartic acid) 
ซีสตีน (Cysteine) 
กรดกลูตามิก (Glutamic acid) 
กลูตามีน (Glutamine) 
ไกลซีน (Glycine) 
โปรลีน (Proline) 
ซีรีน (Serine) 
ไทโรซีน (Tyrosine) 
     แต่ละชนิดต่างก็มีคุณค่าเฉพาะตัวต่อร่างกายแตกต่างกันออกไปแต่ใน ที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงเพราะร่างกายของเราสามารถสร้างได้เอง ที่จะกล่าวถึงและให้ความสำคัญในครั้งนี้คือ กรดอะมิโนจำเป็นเนื่องจากเราจะได้รับจากการทานอาหารเท่านั้นครับ

ค่าความต้องการกรดอะมิโนจำเป็นในแต่ละวัน

     ตามประกาศจาก "World Health Organization" โดยความร่วมมือทางการวิจัยของ "Food and Agriculture Organization of the Uniteds Nations" ได้ระบุไว้ว่า
ค่าความต้องการกรดอะมิโนจำเป็นในผู้ใหญ่ ต่อน้ำหนักตัว 1กิโลกรัม ใน 1วัน ดังนี้
(เป็นการคำนวณค่าโดยประมาณบนสมมติฐานของค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ปลอดภัยของการนำเข้าสำหรับกรดอะมิโนจำเป็น)

ชนิดกรดอะมิโน ค่าความต้องการเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว : 1 kg : 1 วัน

Histidine 10 mg
Isoleucine 20 mg
Leucine 39 mg
Lysine 30 mg
Methionine + cysteine 15 mg
Methionine 10 mg
Cysteine 4 mg
Phenylalanine + tyrosine 25 mg
Threonine 15 mg
Tryptophan 4 mg
Valine 26 mg
รวมกรดอะมิโนจำเป็น 184 mg

     อีกค่าที่ต้องกล่าวถึงคือค่ากรดอะมิโนจำเป็นที่มีอยู่ใน 1 กรัม โปรตีน (ที่มีความต้องการไนโตรเจนโดยเฉลี่ย 105 mg ไนโตรเจนมิลลิกรัมต่อ 1 kg ต่อวัน = 0.66 กรัมโปรตีนต่อ 1 kg ต่อวัน)....ในส่วนเรืองไนโตรเจนขออภัยที่ผมไม่สามารถอธิบายเป็นภาษาไทยได้ ถนัดนัก ในโอกาสนี้ยังไม่ต้องทราบก็ได้ครับเราเรียนรุ้เรื่องกรดอะมิโนกันก่อนครับ)


ชนิดกรดอะมิโน ค่ากรดอะมิโนจำเป็นแสดงเป็นมิลลิกรัม ต่อน้ำหนักโปรตีน : 1กรัม

Histidine 15 mg
Isoleucine 30 mg
Leucine 59 mg
Lysine 45 mg
Methionine + cysteine 22 mg
Methionine 16 mg
Cysteine 6 mg
Phenylalanine + tyrosine 38 mg
Threonine 23 mg
Tryptophan 6 mg
Valine 39 mg
รวมกรดอะมิโนจำเป็น 277 mg

     จะเห็นได้ว่าร่างกายของเราต้องการกรดอะมิโนจำเป็น ประมาณ 184 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 kg ต่อวัน แต่ใน 1 กรัมของโปรตีนจะมีกรดอะมิโนจำเป็นถึง 277 mg แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราทานอาหารโปรตีนเพียง 0.66 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 kg ต่อวัน เราจะได้กรดอะมิโนจำเป็นที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ในกรณีที่เราต้องการทราบ ค่าความต้องการกรดอะมิโนจำเป็นต่อน้ำหนักตัวที่เป็น ปอนด์ จะเทียบได้ดังนี้คือ ในผู้ใหญ่ต้องการกรดอะมิโนจำเป็นประมาณ 84 mgต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ ต่อวัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในคนเพาะกาย เล่นกล้าม ต้องการโปรตีนประมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ต่อวัน จากที่เห็นนี้เท่ากับว่า เราจะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นมากถึง 610 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 kg ต่อวัน เห็นแบบนี้แล้วเราคงไม่ต้องกลัวอีกต่อไปว่าเราจะขาดกรดอะมิโนจำเป็น ถ้าเราทานอาหารโปรตีนได้พอดีกับความต้องการของร่างกาย


แหล่งโปรตีนที่ให้กรดอะมิโนจำเป็น

     ถ้าพูดถึงเรื่องแหล่งโปรตีนที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นนี้ จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

โปรตีนสมบูรณ์ คืออาหารโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นครบทุก 9 ชนิด มักพบในเนื้อสัตว์เช่น ไก่ เนื้อปลา ไข่ ชีส นม อาหารโปรตีนกลุ่มนี้ส่วนช่วยในการสร้างเสริมกล้ามเนื้อ มวลกระดูก ฯลฯ


โปรตีนเกือบสมบูรณ์ คืออาหารโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นเกือบครบทุกชนิด ขาดเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น ซึ่งมักพนในโปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว


     ดังนั้นเราจึงควรเลือกทานอาหารเพื่อให้ได้กรดอะมิโนตามที่ร่างกายต้องการ โดยเน้นอาหารพวกเนื้อสัตว์ และพืชตระกูลถั่ว เนื่องจากอาหารแต่ละอย่างมีกรดอะมิโนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราจึงควรทานอาหารให้หลากหลาย ไม่จำกัดเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป เพื่อให้ได้คุณค่าโปรตีนที่ครบถ้วน


     สรุปว่าถ้าเราทานอาหารโปรตีนทีหลากหลายและเพียงพอเราจะได้รับกรดอะมิโนจำ เป็นได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะนักบริโภคโปรตีน อย่างคนเล่นกล้ามแบบพวกเราแล้วยิ่งไม่ต้องกลัวที่จะขาดแคลน นอกจากว่าใครที่ต้องการใช้กรดอะมิโนจำเป็นในการเป็นอาหารเสริม ขอให้เลือกใช้เป็นตัวๆไปตามประโยชน์ที่ระบุไว้ข้างต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว อย่างที่ได้บอกไว้คือถ้า เราทานอาหารโปรตีนเพียงพอแล้ว ไม่มีความจำเป็นใดๆเลยที่จะต้องเสริมกรดอะมิโนจำเป็นใดๆอีก เพราะถือว่าเป็นการทานเสริมที่ทับซ้อนกันและสิ้นเปลือง เพราะในที่สุดแล้วกรดอะมิโนจำเป็นส่วนที่เกินความต้องการจะถูกขับออกจากร่าง กายทางเหงื่อและปัสสาวะโดยที่ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมกรดอะมิโนไว้ใช้ต่อไป ได้อีกด้วย ใครที่ต้องการทานเสริมก็ลองชั่งใจดูถึงความจำเป็นนะครับ คิดให้ดีๆเงินทองหายากเอาไปใช้ประโยชนอย่างอื่นได้อีกหลายอย่างเลยครับ


เวย์ โปรตีนได้มาจากไหน?




     เวย์ โปรตีน ได้มาจากของเหลวที่เรียกว่าหางนมที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิต ชีส (เนยแข็ง) ซึ่งในของเหลวนี้ประกอบไปด้วยน้ำ เวย์ โปรตีน แลคโตส ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ในหางนมนี้จะมีส่วนที่เป็นน้ำ 90% เวย์ โปรตีน 0.8% แลกโตส 7% โดยประมาณ ถ้าสกัด เวย์ จากหางนมในชั้นแรกนี้จะได้ "ซิมเปิ้ล เวย์ พาวเดอร์" ส่วนใหญ่ เวย์ที่ได้จากขั้นแรกนี้จะมีความเข้มข้นแค่เพียง ประมาณ 10% หรือสูงสุดไม่เกิน 30% ในเนื้อเวย์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแลคโตส และที่เหลือส่วนอื่นๆ เป็นไขมัน เกลือแร่ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร บางอย่างได้ด้วย แต่ยังไม่เหมาะสมกันการนำมาเป็นอาหารเสริมสำหรับคนเรานะครับ ต่อมามีการนำมาสกัดในขั้นตอนต่อจากที่กล่าวมาจึงได้กลายมาเป็น อาหารเสริมโปรตีน ชนิด "เวย์ โปรตีน ไอโซเลท" และ "เวย์ โปรตีน คอนเซนเตรท"

ทาน เวย์ โปรตีน แล้วได้อะไร?

     สิ่งสำคัญใน"เวย์ โปรตีน ไอโซเลท" คือ BCAA ซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 25% และนับว่าเป็นอาหารเสริมโปรตีนที่ให้ BCAA มากกว่าอาหารเสริมโปรตีนใทุกชนิด ทีนี่มาดูกันว่า ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญกับ BCAA



     เพราะเจ้าBCAA ตัวนี้เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราจำเป็นจะต้องใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ โปรตีน ให้กับเซลล์กล้ามเนื้อ ประกอบด้วยกรคอะมิโน 3 ตัวคือ ลูซีน ไอโซลูซีน วาลีน โดยที่ BCAA จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต จากต่อมใต้สมอง ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายสามารถสร้างกล้ามเนื้อ ได้รวดเร็วขึ้น เพระฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะไปกระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์กล้ามเนื้อที่มีการใช้งานหรือ ถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยใช้กรดอะมิโน ในการสังเคราะห์โปรตีน ทั้งกรดอะมิโนในส่วนที่เซลล์กล้ามเนื้อได้รับมาโดยตรงจากอาหารปกติ ชนิดต่างๆ และในส่วนที่เซลล์กล้ามเนื้อได้รับมาจากการย่อยสลายโปรตีนชนิดต่างๆด้วย นอกจากนี้ BCAA จะช่วยซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อที่สึกหรอจากการออกกำลังกาย ทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว ช่วยลดจำนวน "โปรตีน แคทาบอลิซึม" (โปรตีนที่จะถูกสลายตัวในตอนการออกกำลังกายที่หนักมากๆ) ซึ่งจะช่วยทำให้เซลล์กล้ามเนื้อ ไม่เล็กลง หรือที่เรียกว่ากล้ามฝ่อ ร่างกายสามารถที่จะใช้ BCAA จากกล้ามเนื้อได้โดยตรงถึง 70% โดยไม่ต้องผ่านตับ ดังนั้น BCAA จึงเหมาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องการทำงานของตับด้วยนะครับ สรุปได้ว่า สิ่งที่เราจะได้จาก เวย์ โปรตีน นี้คือ กรดอะมิโน และ BCAA ซึ่งถือว่าจำเป็นสำหรับคนเพาะกายนะครับ จากข้างบนนี้กล่าวถึง "เวย์ โปรตีน ไอโซเลท" แต่ถ้าเป็นใน "เวย์ โปรตีน คอนเซนเตรท" จะมีปริมาณ กรดอะมิโนและเปอร์เซนต์ของ BCAA ต่ำลงไปอีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็สามารถที่จะทาน BCAA โดยตรงเพิ่มได้อีก "เวย์ โปรตีน คอนเซนเตรท" นั้นราคาถูกกว่าแบบ "เวย์ โปรตีน ไอโซเลท" มากทีเดียว แต่เราอาจต้องทานเสริมอย่างอื่นเพิ่มอีก ในขณะที่ "เวย์ โปรตีน ไอโซเลท" มีราคาสูงกว่าแต่ทานตัวเดียวโดยที่ไม่ต้องเสริม BCAA ก็น่าจะพอเพียงความต้องการร่างกาย ใครที่จะหามาทานลองคิดดูครับว่า เวย์แบบไหนเหมาะกับตัวคุณ

เวย์ โปรตีน ช่วยสร้างกล้ามเนื้ออย่างไร?

     เพราะกรดอะมิโนหลายชนิดใน เวย์ โปรตีน จะช่วยในการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อและยับยั้งการทำลายเซลล์กล้ามเนื้อ ซ้ำยังเสริมความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะจะช่วยเพิ่มการผลิตสาร "กลูตาไธโอน" ซึ่งสารตัวนี้เป็นสาร แอนตี้ออกซิแด้นท์ ของร่างกายเรา ครับ ใน เวย์ โปรตีน จะให้ BCAA และกลูตามีน ซึ่งจะไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายสามารถสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้น กลูตามีน ยังจะช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และช่วยในการทำลายกรดแลคติค ที่เกิดขึ้นในขณะออกกำลังกายเพื่อลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ครับ

เกร็ดความรู้ เล็กๆน้อยๆของ เวย์ โปรตีน

     เวย์ โปรตีน จะย่อยได้ง่ายและถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ในช่วงที่เกิดความเครียด รวมทั้งในระหว่างการออกกำลังกาย จะพบว่าระดับของกลูตาไธโอนจะลดต่ำลง
     เวย์ โปรตีน จะสามารถช่วยรักษาระดับของกลูตาไธโอน เอาไว้ให้คงที่ เพื่อให้สามารถรักษาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อ
     เวย์ โปรตีน ช่วยลดน้ำหนักได้ โดยการไปเพิ่มฮอร์โมนที่ไปยับยั้งความอยากอาหาร ที่ชื่อ โคเลซิสโตคินิน ที่อยู่ในทางเดินอาหาร (อันนี้ผลการวิจัย แต่จะจริงหรือไม่ยังไม่ทราบเป็นที่แน่นอน)

เปรียบเทียบการทาน เวย์ โปรตีน กับ กรดอะมิโนแบบเม็ด

     เคยเห็นคำถามที่ว่าจะทานกรดอะมิโนเม็ด หรือทาน เวย์ โปรตีนดีกว่ากันในเรื่องนีขออธิบายว่า กรดอะมิโนเม็ดเป็นกรดอะมิโนที่จัดอยู่ใน กรดอะมิโนเดี่ยว ส่วนเวย์ โปรตีน จัดอยู่ใน โปรตีน เปปไทด์สั้น มีรายงานการวิจัยว่า ร่างกายของเราจะดูดซึมกรดอะมิโนเดี่ยว ได้ไม่ดีเท่ากับโปรตีน เปปไทด์สั้น หมายถึงโปรตีน ซึ่งมีโปรตีนที่ถูกย่อยให้อยู่ในรูป เปปไทด์ จะถูกดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด ยิ่งกว่านั้น เวย์ โปรตีน มีสัดส่วนของกรดอะมิโนที่เหมาะสมมากอยู่แล้ว ร่างกายเราสามารถนำไปย่อยสลายเป็นกรดอะมิโน แล้วนำไปสร้างเป็นโปรตีนใหม่ให้เซลล์กล้ามเนื้อได้ อย่างดีมีประสิทธิภาพ แต่ข้อดีของกรดอะมิโนเม็ดคือ การทานที่คล่องตัว พกพาง่าย เรื่องอื่นๆก็ตามเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมานะครับ

สารอาหารใน เวย์ โปรตีน


"เวย์ โปรตีน ไอโซเลท"

โปรตีน 90-97%
คาร์โบไฮเดรท น้อยกว่า 1%
ไขมัน น้อยกว่า 1%
BCAA 26%
การดูดซึม ประมาณ 30 นาที

"เวย์ โปรตีน คอนเซนเตรท"
โปรตีน 70-89%
คาร์โบไฮเดรท มากกว่า 1%
ไขมัน 3-8%
BCAA น้อยกว่า 26%
การดูดซึม ประมาณ 30 นาที

     ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นภาพรวมของ เวย์โปรตีน สิ่ง สำคัญที่อยากจะบอกคือ เวย์ โปรตีน ไม่สามารถที่จะมาเป็นอาหารทดแทนในมื้ออาหารหลักได้ ควรใช้เป็นอาหารเสริมในกรณีที่ร่างกายได้รับโปรตีนจากอาหารหลักไม่เพียงพอ โดย ดูได้จากเกณฑร์วัดความต้องการต้องการโปรตีนของร่างกายว่าจะต้องได้รับ 1-1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ (ในปัจจุบันมีการวิจัยใหม่ ว่าความต้องการโปรตีนต่อน้ำหนักตัว มีการลดสัดส่วนลง) ถ้าลองคำนวนดูแล้วเราได้รับโปรตีนจากอาหารหลักไม่เพียงพอ เวย์ โปรตีน ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีได้อีกทางครับ แต่ถ้าร่างกายได้รับโปรตีนจากอาหารหลักเพียงพอแล้ว ก็สามารถทานเสริมได้ไม่มีผลเสียอะไรครับ




By : โค้ชเกมส์
Mobile : 092-645-4256
Line ID : kp156