วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

Bodi Guard น้ำมันตับปลาฉลามน้ำลึก ทางเลือกใหม่ในการช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค และช่วยป้องกันมะเร็งด้วย

น้ำมันตับปลาฉลามน้ำลึก ทางเลือกใหม่ในการเสริมภูมิต้านทานโรค และ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งด้วย
ดร. พิมพ์พิมล ตันสกุล
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีผู้มาสอบถามเภสัชกรที่สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ เกี่ยวกับอาหารเสริมชนิดหนึ่ง ที่ฉลากเขียน เป็น ภาษาอังกฤษ ว่า Squalene ว่ามีประโยชน์รักษาอาการใดได้บ้าง จึงคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการค้นคว้าข้อมูลเรื่องนี้มาเล่าให้ผู้สนใจได้อ่านบทความนี้ไม่ได้ช่วยโฆษณาผลิตภัณฑ์ขายตรงใดๆทั้งสิ้น แต่จะเป็นการนำข้อมูลวิชาการที่มีการเผยแพร่มาเรียบเรียงให้ท่านทั้งหลายได้ทราบกัน
     
พอเริ่มต้นด้วยคำว่า น้ำมันตับปลาฉลาม ผู้อ่านนึกถึงอะไรบ้าง ตัวผู้เขียนเห็นถ้วยหูฉลาม ลอยมาพร้อมๆกับ กลุ่มองค์กรอนุรักษ์ที่ออกมายืนประท้วงการล่าวาฬ และปลาฉลาม เราพบสองด้านของความแตกต่างคือประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์ปลาฉลาม ที่มีมาแต่โบราณกาล กับความเหมาะสมในการ บริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทางทะเลมากน้อยอย่างไร หากเราพบว่าสารสำคัญจากปลาฉลามมีความสำคัญ แต่ไม่อยากทำ ลายหรือลดจำนวนปลาฉลาม และทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว การพิจารณาหาแหล่งใหม่ของสารสำคัญ มาบริโภคแทน ก็อาจเป็นตัวเลือกที่น่าพิจารณาก็ได้


ที่มาและสรรพคุณของน้ำมันตับปลาฉลาม
ปลาฉลามเกือบร้อยชนิดมีน้ำมันจากตับ (liver oil) ที่มี สควาลีน เป็นองค์ประกอบหลัก โดยมีมากน้อยตามแต่ชนิด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในข้อมูลเสริม ตารางที่ 1 และ 2 ) ในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้จากทางฝั่งออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์


     มีการใช้น้ำมันตับปลาฉลามเป็นทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็ง และ โรคอื่นๆ ในยุโรปทางเหนือ เช่น นอร์เวย์ และ สวีเดน กันมานาน สำหรับใน สหรัฐอเมริกา ก็มีการจำหน่ายน้ำมันตับปลาฉลาม ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างไรก็ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เท่าที่มีถึงปัจจุบันก็ไม่ได้ยืนยันสรรพคุณ ในการใช้รักษาโรคมะเร็ง การศึกษาข้อมูลในห้องทดลองในระยะแรกเน้นไปที่ สารสำคัญสองสามชนิด อันได้แก่ อัลคิล-กลีเซอรอล, สควาลีน และ สควาลามีน ซึ่งการศึกษาในช่วงแรกๆ ระบุว่า สารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้

     นอกจากสรรพคุณที่กล่าวอ้างว่ารักษาและบรรเทาโรคมะเร็งแล้วข้อบ่ง ใช้อื่นๆ ที่มีการอ้างถึงได้แก่ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต้านการติดเชื้อ รักษาบาดแผล รักษาอาการในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารได้สาร สำคัญที่พบในน้ำมันตับปลาฉลาม นอกจากสควาลีนแล้ว ยังสามารถพบสารกลุ่ม อัลคิล-กลีเซอรอล ( alkylglycerol ) รวมถึง อัลคอกซีกลีเซอรอล
( alkoxyglycerol ) ในปริมาณสูง และพบ สควาลามีน ( squalamine) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด n-3 polyunsaturated fatty acid (PUFA) ในปริมาณที่ต่ำอีกด้วย (Lewkowicz et al., 2006)

     การศึกษาทางคลินิกถึงผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายและผลทางชีวเคมี ของการได้รับน้ำมันตับปลาฉลามในขนาดสูง ในอาสาสมัคร 13 คน โดยได้รับ สควาลีน 3.6 กรัม อัลคิล-กลีเซอรอล 3.6 กรัม และ กรดไขมัน n-3 polyunsaturated fatty acids (PUFA) 750 มิลลิกรัม ต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ปริมาณ neutrophils มีมากขึ้น ปริมาณ C4 component ในเลือดเพิ่มขึ้น สารต้านออกซิเดชันเพิ่มขึ้น การสร้าง Type I cytokine IFN-gamma, TNF-alpha และ IL-2 โดย peripheral blood mononuclearcell ก็เพิ่มขึ้นหลังจากการ รับประทานน้ำมันตับปลาฉลามผลการศึกษาผลต่อภูมิคุ้มกันนี้ แสดงว่าน้ำมัน ตับปลาฉลามน่าจะมีประโยชน์ในการรักษาหรือป้องกันการอักเสบได้ (Lewkowicz et al., 2005)

     และในการศึกษาเดียวกันนี้ยังพบว่า น้ำมันตับปลาฉลามสามารถเพิ่ม ระดับโคเลสเตอรอล จาก 182.92 ? 29.290 มิลลิกรัมต่อร้อยมิลลิลิตร ก่อนการได้รับน้ำมันตับปลาฉลาม ไปเป็น 224.46 ? 62.198มิลลิกรัมต่อร้อยมิลลิลิตร หลังจาก 4 สัปดาห์ และลดระดับไขมันดี อย่าง HDL อย่างไรก็ตาม ระดับของ โคเลสเตอรอล และHDL สามารถกลับเข้าสู่ปกติด้วยตัวเองได้เมื่อ จบ การทดลอง
นอกจากการศึกษาในน้ำมันตับปลาฉลามแล้วยังมีข้อมูลเกี่ยวกับสารสำคัญที่พบในน้ำมันตับปลาแลเดี่ยวๆ

สควาลีน (Squalene)
     เป็นสารไฮโดรคาร์บอนสายยาว มีชื่อเคมีคือ 2,6,10,15,19,23-hexamethyl-2,6,10,14,18,22-tetracosahexaene มีโครงสร้างทีมี 6 พันธะคู่ ไม่คงตัวต่อการเกิดออกซิเดชั่น จึงไวต่อการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation) ซึ่งเมื่อผ่านปฏิกิริยานี้แล้วจะได้สารที่มีความคงตัวและใช้เป็น สารให้ความชุ่มชื่นในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน สควาลีนมีประโยชน์ต่อปลาฉลามในการรักษาสมดุลการลอยตัวในน้ำ เนื่องจากความหนาแน่นของสควาลีน ต่ำกว่าน้ำ และ ไขมัน บางชนิด



โครงสร้างทางเคมีของสควาลีน
     นอกจากได้จากน้ำมันปลาฉลามแล้ว สามารถพบ สควาลีน ได้ในน้ำมันมะกอก น้ำมันจากเมล็ดพืช ธัญพืช หรือถั่วต่างๆในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับที่พบในน้ำมัน ตับปลาฉลาม ชนิด และปริมาณสควาลีนที่พบในพืช ได้แสดงไว้ในเอกสารเพิ่มเติม ตารางที่ 3

     สควาลีนเป็นสารที่สำคัญในร่างกายโดยเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารกลุ่มสเตอรอล ซึ่งเป็นองค์ประกอบในเยื่อหุ้มเซลล์ และพบว่าสควาลีนเป็นสารตั้งต้นของ โคเลสเตอรอล การรับประทานสควาลีน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีสควาลีนเป็นองค์ประกอบ เช่นน้ำมันตับปลาฉลาม จึงมีทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้ด้วยมีการบ่งสรรพคุณของสควาลีน ในผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายว่ามีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบ และบวมจากโรคไขข้อ ช่วยบำรุงผิวและเส้นผม มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ช่วยบำรุงร่างกายและเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือดและลดระดับ กรดแลคติกในกระแสเลือด มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อ การทำเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ตามการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า สควาลีนสามารถปกป้องเซลล์ไขกระดูกจากผลการรักษามะเร็ง โดยวิธีเคมีบำบัด แต่ก็ไม่ได้ลดฤทธิ์การฆ่าเซลล์มะเร็งของยาที่ใช้รักษามะเร็งแต่อย่างใด (Das et al., 2003)

อัลคิล-กลีเซอรอล ( alkylglycerol )
     สารกลุ่มนี้มีโครงสร้างของหมู่ไฮโดรคาร์บอนต่อกับกลีเซอรอล นักวิจัยเชื่อว่าสารกลุ่มนี้สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ตัวอย่างของสารกลุ่มนี้ ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งคือ (2 R ,2' S )-1- O -(2'-hydroxy-hexadecyl) glycerol (Baskaran et al., 1996) และยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยกระตุ้น มาโครฟาจ (เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่กำจัดเชื้อโรคและเซลล์ที่ตายแล้ว) ยับยั้งโปรตีนไคเนส ซึ่งเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ควบคุมการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ( immune response) โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง platelet activating factor (PAF) และการสร้าง diacylglycerol (DAG) (Lewkowicz et al., 2006)

     นอกจากนี้ มีการระบุว่าสารกลุ่มอัลคิล-กลีเซอรอล ยังลดผลข้างเคียงจากจากการฉายแสง และเคมีบำบัดได้อาจจะเนื่องมาจากโครงสร้าง อัลคิล - กลีเซอรอล สามารถปกป้องเซลล์เมมเบรนได้ มีสรรพคุณป้องกันโรคหวัด หอบหืด ปวดไขข้อ และเอดส์ได้ด้วย (Pugliese et al., 1998) แต่ยังไม่มีรายงานหลักฐานทาง วิทยาศาสตร์ และ การทดลองทางคลินิกที่ชัดเจน ยืนยันฤทธิ์ดังกล่าว ทั้ง alkylglycerols และ squalene ยังมีฤทธิ์ antitumour activity ซึ่งอาจเกิดจากหลายกลไก เช่น การเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายได้มากขึ้นโดย กระบวนการ apoptosis การกด signal transduction, การยับยั้งการสร้างเส้นเลือดไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง และการเพิ่มการนำยาต้านมะเร็งผ่านเมนเบรนได้มากขึ้น (Lewkowicz et al., 2006)

สควาลามีน ( squalamine )
     สามารถลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกในเส้นเลือดได้ (Hao et al., 2003) จึงน่าจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยสามารถใช้ได้ทั้งแบบเดี่ยวๆ และ ใช้ร่วมกับเคมีบำบัด และอยู่ในระหว่างการศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก (Bhargava et al., 2001; Herbst et al., 2003)

ข้อควรระวัง
     มีผลเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในเลือด สูงขึ้นทั้งใน หนู (Scolastici et al., 2004) , หนูแฮมสเตอร์ ( Zhang et al., 2002 ) และมนุษย์ (Lewkowiczet al., 2005) การบริโภคน้ำมันตับปลาฉลามเป็นประจำ จะส่งผลเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ จึงต้องระวังการใช้น้ำมันตับปลา หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีสควาลีนเป็นองค์ประกอบ ในผู้มีภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis ) เนื่องจาก สควาลีนในน้ำมันตับปลาฉลามเป็นสารที่อยู่ในกระบวนการ ชีวสังเคราะห์ของ
โคเลสเตอรอล นั่นเอง และควรระวังในผู้ที่มีภาวะแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง (autoimmune diseases)

     ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันตับปลาฉลามนั้น เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาทั้งนี้เนื่องจากผลการศึกษายังไม่เพียงพอที่จะพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นยาได้ การรับประทานผลิตภัณฑ์น้ำมันตับปลา จึงควรต้องพิจารณาความเหมาะสมทั้งในเรื่องข้อมูลทางวิชาการ และ ราคาผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับยาอื่นและข้อมูล
     ความเป็นพิษ ที่แม้ว่าจะมีการใช้น้ำมันตับปลาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ค่อยมีการศึกษาความเป็นพิษจากการใช้ผลิตภัณฑ์นี้สักเท่าใดนัก อาการข้างเคียงที่เคยมีรายงานได้แก่ อาการในระบบทางเดินอาหาร เช่นคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย นอกจากนี้นักวิจัยญี่ปุ่น พบว่าผลิตภัณฑ์บางครั้ง น้ำมันตับปลาฉลามยังปนเปื้อนสารโพลีคลอรีนเนเทท ไบเฟนนิล (polychlorinated biphenyls: PCBs) และ โพลโบรมีนเนเทท ไดเฟนิลอีเธอร์ ( polybrominated diphenyl ether:
PBDEs) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งอีกด้วย (Akutsu et al., 2006) นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้ที่แพ้อาหารทะเลระวังการบริโภคน้ำมันตับปลาฉลามด้วย

สรุป

 



     ถึงแม้จะมีการใช้น้ำมันตับปลาฉลามกันมาเป็นเวลานานและ มีบ่งใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งด้วยนั้น ข้อมูลสนับสนุนข้อบ่งใช้และ การศึกษาการทดลองทางคลินิคที่มี ก็ยัง ไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่า มีสรรพคุณดังกล่าวจริงๆ ในขณะที่สารสำคัญในน้ำมันตับปลาเช่น สควาลีน ก็มีผลเกี่ยวข้องกับการเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ ด้วย การรับประทานน้ำมันตับปลาฉลามเพื่อรักษาโรคมะเร็งนั้นจึงต้องระวัง และพิจารณาข้อดีข้อเสียให้ละเอียด การรับประทานเพื่อบำรุงร่างกายก็คงต้องระมัดระวัง สารปนเปื้อนที่อาจมีมาด้วย นอกจากนี้แม้จะมีผลการศึกษาทางคลินิก (การทดลองในมนุษย์) อยู่บ้างแล้ว ก็ยังต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า การทดลองในชนชาติที่แตกต่างกัน อาจให้ผลการศึกษาที่ต่างกันได้

รบกวน กดไลท์ กดแชร์ บทความนี้
หากจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
ติดต่อ 
092-645-4256 โค้ชเกมส์