ไมโครไบโอมของมนุษย์ (human microbiome) มันคืออะไร?
มันสำคัญกับเราอย่างไร?
ทำไม? เราถึงเรียกมันว่า human microbiome
Microbiota คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กระดับ micrometer หรือระดับที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นต้องส่องด้วย microscope เท่านั้นถึงจะเห็น เช่น แบคทีเรีย (bacteria), รา (fungi), ไวรัส (viruses), อาร์เคีย (archaea) และ โพรทิสต์ (protists) และสิ่งมีชีวิตพวกนี้ก็มาอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน
ถ้าพวกมันอาศัยอยู่ในดินก็จะเรียกว่า soil microbiota
ถ้ามาอยู่บนและในร่างกายเรา ก็จะเรียกว่า human microbiota
Microbiome จะเป็นคำที่กว้างกว่า microbiota เพราะคำนี้จะเหมารวมถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และ พันธุกรรมของพวกมัน (genomes) เช่น ยีนส์, โปรตีน ของสิ่งมีชีวิตพวกนี้ด้วย เพราะฉะนั้น human microbiome ก็คือคำที่เหมารวมทุกอย่างของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนและในร่างกายของเรา ซึ่ง human microbiome ก็จะแบ่งออกเป็นหลายอย่างขึ้นอยู่กับว่าเราจะพูดถึงอวัยวะส่วนไหนของร่างกาย เช่น
mouth microbiome (microbiome ที่อยู่ในปากของเรา),
gut microbiome (microbiome ที่อยู่ในสำไส้ของเรา),
vaginal microbiome (microbiome ที่อยู่ในช่องคลอด)
skin microbiome (microbiome ที่อยู่บนผิวหนังของเรา) และที่อื่นๆอีกมากมาย
ตอนนี้เราก็ได้รู้จักพวกมันมากขึ้นดีกว่าว่ามันสำคัญกับเราอย่างไร? ผมจะขอเขียนเฉพาะเจาะจงกับ human gut microbiome และจะพูดถึงแค่ แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้เราเท่านั้นเพราะถ้าเขียนทั้งหมด คงจะยาวมากเพราะมันเยอะมาก มาดูกันว่าเจ้า gut bacteria นี้มันมีอิทธิพลอะไรบ้างกับชีวิตเรา
1. จำนวนของแบคทีเรีย ถ้าเราเปรียบเทียบจำนวนเซลล์แบคทีเรียในลำไส้ของเรา กับเซลล์ของร่างกายของเราเองเจ้าแบคทีเรียพวกนี้มีจำนวนมากกว่าเชลล์ร่างกายของเราเองถึงสิบเท่า นี่แค่ในลำไส้นะ ไม่รวมแบคทีเรียที่อื่นๆ และที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ จำนวนยีนส์ของแบคทีเรียมีมากกว่ายีนส์ของมนุษย์ถึง 100 เท่าเลยทีเดียว เพราะยีนส์เป็นตัวกำหนดการทำงานของสิ่งต่างๆในร่างกายเรา เช่นเดียวกันกับแบคทีเรีย การที่แบคทีเรียมียีนส์มากๆ นั้นแสดงว่าแบคทีเรียพวกนี้มีหน้าที่สำคัญที่ต้องทำมากมายนั่นเอง แต่หน้าที่พวกนี้นักวิทยาศาสตร์ยังต้องทำการศึกษาอีกมากว่ามันคืออะไร
2. ส่วนใหญ่แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของพวกเราจะเป็นแบคทีเรียที่เติบโตโดยไม่ต้องการอ๊อกซิเจน หรือเรียกว่าanaerobic bacteria และส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่เราไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ ซึ่งเราจะเรียกว่า unculturable bacteria เลยทำให้การวิจัยเกี่ยวกับ human microbiome ในอดีตทำได้อย่างลำบาก แต่เพราะเทคโนโลยีในด้านนี้พัฒนามากขึ้นเลยทำให้ปัจจุบันนี้เราสามารถศึกษาเรียนรู้ unculturable bacteria ได้มากขึ้น
3. เพราะเทคโนโลยีที่ดีมากขึ้นในสมัยนี้ เลยทำให้เราได้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลำไส้ของเรา(dysbiosis) มีส่วนเชื่อมโยงกับหลายๆโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (IBD), โรคมะเร็ง, โรคซึมเศร้า, โรคออทิสติก, โรคภูมิแพ้ และอีกหลายๆโรค แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของแบคทีเรียเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคพวกนี้หรือไม่ หรือว่าเราเป็นโรคพวกนี้ก่อนแล้วแบคทีเรียในร่างกายของเราค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ตอนนี้ที่อเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป กำลังให้ความสนใจในการศึกษาด้านนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอเมริกาเอง ในสมัยของรัฐบาลโอบามา ได้ให้ทุนในการวิจัยเกี่ยวกับ human microbiome เป็นจำนวนเงินถึง 500 M$ เลยทีเดียว
4. ช่วยในระบบภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียในร่างกายเราจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเราสร้างภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ ก็เหมือนกับร่างกายเราฝึกฝนทหารไว้รอรับมือข้าศึกนั่นเอง พอมีข้าศึกมาทหารที่เราฝึกไว้จนเก่งกาจก็รับมือฆ่าศึกได้อย่างทันทีทำให้เราไม่ป่วยง่าย ร่างกายแข็งแรง
5. ผลิตสารอาหารที่จำเป็น แบคทีเรียในลำไส้เรา ทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตวิตามิน K และนอกจากนั้นเจ้าพวกนี้ยังเป็นตัวกลางสำคัญในการเปลี่ยนรูปของกรดน้ำดี, สเตอรอยด์ เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้ นอกจากนี้เจ้าตัวเล็กๆพวกนี้ยังช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่นพวกเลือแร่ และลิกแนน
6. ทำหน้าที่ metabolize สารพวก xenonbiotic (สารที่ร่างกายเราไม่ได้ผลิตเอง เช่น ยา, สารเคมีต่างๆ ที่ร่างกายเรารับเข้าไป, วิตามินต่างๆ, สารพิษต่างๆ, สารอาหารต่างๆที่เรากินเข้าไป) แบคทีเรียพวกนี้ก็จะเปลี่ยนโครงสารของสารพวกนี้ บางครั้งอาจจะเปลี่ยนสารพวกนี้ให้มีความเป็นพิษน้อยลง หรืออาจจะทำให้มันกลายเป็นสารที่มีพิษมากขึ้นก็เป็นได้ เช่น แบคทีเรียเปลี่ยนสารจำพวก isoflavonesให้เป็นสารที่มีฤทธิ์มากขึ้น และสารตัวนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอีกด้วย
7. ช่วยในการย่อยสลายอาหาร พวกไฟเบอร์ที่ร่างกายเราไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งมันจะเป็นการช่วยทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากขึ้น นอกจากนั้นแบคทีเรียบางชนิดก็สามารถใช้พวกไฟเบอร์พวกนี้ในการผลิตกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acid) ซึ่งshort chain fatty acid บางชนิดมีฤทธิ์ในการช่วยลดการอักเสบอีกด้วย
หลายคนอาจจะตกใจมากเลยใช่ไหมครับว่าแบคทีเรียที่เราคิดว่ามันน่ากลัว มีแต่อันตราย แต่ที่ไหนได้ มันคือตัวสำคัญเลยที่ทำให้เรากลายเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์หลายคนยังเปรียบ human microbiota ว่าเป็นเสมือน อวัยวะสำคัญของร่างกายมนุษย์ ถ้าขาดอวัยวะนี้ไปเราก็จะตายนั่นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อเรารู้ว่าแบคทีเรียพวกนี้มันสำคัญแค่ไหนก็อย่าฆ่ามันนะครับ ถ้าไม่ป่วยไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อก็อย่ากินเลยครับ
#BiomeFiber
#ไบโอมไฟเบอร์ที่เป็นมากกว่าไฟเบอร์
#เริ่มต้นสุขภาพดีเพียงแค่ฉีกชงดื่มกับไบโอมไฟเบอร์
#เรื่องสุขภาพไว้ใจโค้ชเกมส์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Scan QR.Code