วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Autophagy กระบวนการกลืนกินเซลล์ (ตอนที่ 2)

Autophagy กระบวนการกลืนกินเซลล์  (ตอนที่ 2)

ทำไม? กระบวนการ Autophagy จึงมีความสำคัญต่อร่างกาย




✅ เมื่อไหร่ก็ตามที่กระบวนการ Autophagy หยุดทำงาน ปฏิกิริยาต่างๆ ภายในเซลล์จะเป็นไปในทางลบ ลองนึกถึงเวลาที่เราหยุดทำความสะอาดห้องครัว หลังทำอาหารเสร็จขยะจะเต็มไปหมด อาหารจะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น เช่นเดียวกัน นึกถึงภายในเซลล์เราที่เต็มไปด้วยกองโปรตีนผิดรูปร่าง (Misfolded Protein) ใช้การไม่ได้ และชิ้นส่วนอวัยวะภายในเซลล์ที่หมดอายุ เช่น ไมโตคอนเดรียเก่าที่ใช้งานไม่ได้แล้วเป็นต้น

✅ เมื่อเซลล์ไม่สามารถจัดการเคลียร์โปรตีนที่ผิดรูปเหล่านี้จากเซลล์ได้ โปรตีนผิดรูปเหล่านี้ก็จะรวมตัวกัน และพัฒนาไปสู่โมเลกุลของอะมัยลอยด์ (Amyloid) เราพบอะมัยลอยด์ในสมองคนไข้ที่เป็นอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดคนไข้เบาหวาน และโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอะมัยลอยด์

✅ Autophagy เป็นกลไกป้องกันการเกิดอะมัยลอยด์ ดังนั้นเมื่อกระบวนการ Autophagy เกิดขึ้นไม่เพียงพอ จึงเชื่อมโยงกับการเร่งขบวนการชราของเซลล์ประสาท ข่าวร้ายที่ขบวนการ Autophagy เกิดขึ้นช้าลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นความเกี่ยวข้องระหว่างขบวนการ Autophagy กับโรคที่เกิดจากความชราทั้งหลาย โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท (Neurodegenerative Diseases)

✅ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องเข้าใจว่าจะจัดการให้ขบวนการ Autophagy เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายได้อย่างไร เราจะสามารถเปิดสวิตช์ขบวนการนี้เมื่อมีความจำเป็นได้อย่างไร และเป็นไปได้ที่จะใช้ขบวนการนี้เพื่อป้องกันโรคที่เกี่ยวเนื่องจากความชราของเซลล์

ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) และ Mitophagy

✅ แต่ละอวัยวะภายในเซลล์จะมีเส้นทางของขบวนการ Autophagy เฉพาะตัว และเราก็จะใช้ชื่ออวัยวะภายในเซลล์นั้นเป็นตัวเรียกขบวนการ Autophagy นั้น เช่นขบวนการ Autophagy สำหรับไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ก็เรียกว่า Mitophagy

✅ ไมโตคอนเดรียเป็นโรงงานผลิตพลังงานสำหรับเซลล์ และถ้าเผอิญเราสนใจ Ketogenic Diet เราก็คงทราบดีว่าไมโตคอนเดรียมีความสำคัญต่อเซลล์และทำงานหนักขนาดไหน ซึ่งก็เหมือนทุกสิ่งที่ถูกใช้งานหนัก มันก็จะเริ่มเสื่อมสภาพและหมดอายุขัย ไมโตคอนเดรียก็เช่นกัน

✅ การที่ไมโตคอนเดรียเสื่อมสภาพ ล่องลอยอยู่ภายในเซลล์ ไม่มีขบวนการเคลียร์ออกไปจากเซลล์ นับเป็นหายนะสำหรับเซลล์เลยทีเดียว เพราะนอกจากจะผลิตพลังงานได้ไม่เพียงพอแล้ว ไมโตคอนเดรียที่เสื่อมสภาพยังเพิ่มการผลิต Reactive Oxygen Species (ROS) และปล่อยสารอักเสบกลุ่ม Cytokines ทั้งสองปฏิกิริยานี้ส่งผลร้ายมหันต์ต่อเซลล์

✅ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพของไมโตคอนเดรีย เป็นคุณลักษณะสำคัญของโรคที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการทางเมตาบอลิสมเกือบทั้งหมด เช่นเบาหวาน พาร์คินสัน อัลไซเมอร์ มะเร็ง เป็นต้น ดังนั้นขบวนการ Autophagy ที่มีประสิทธิภาพในการเคลียร์ไมโตคอนเดรียที่หมดอายุ จึงอาจช่วยโรคที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการทางเมตาบอลิสมได้

✅ นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ขบวนการ Mitophagy ช้าลง และไมโตคอนเดรียเสียหายด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นขบวนการ Mitophagy ที่มีประสิทธิภาพในยามชรา จึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ



ปัจจัยที่ควบคุมขบวนการ Autophagy

✅ ปัจจัยที่ควบคุมขบวนการ Autophagy ซับซ้อนมาก (ดู diagram รูปที่ 1 ในโพสต์ที่แล้ว) และเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์กำลังทำงานในการทำความเข้าใจมันอยู่ สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เข้าใจชัดเจนแล้วก็คือตั้งแต่ในยีสต์ถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ถ้าขาดขบวนการ Autophagy = อายุขัยจะสั้นลง 
และ
การจำกัดแคลอรี่ = อายุขัยจะเพิ่มขึ้น

✅ ปัจจัยที่กระตุ้นขบวนการ Autophagy ได้คือการจำกัดแคลอรี่และการหยุดกินอาหารเพราะทั้งสองปัจจัย จะกระตุ้นขบวนการ Autophagy เพื่อรีไซเคิลโปรตีนที่เสื่อมสภาพให้ได้กรดอะมิโนนำไปสร้างโปรตีนใหม่และโมเลกุลอื่นที่เซลล์ต้องการ

✅ การจำกัดแคลอรี่และการหยุดกินอาหาร (Fasting) จะลดการทำงานของ Insulin/IGF-1 (Insulin-like Growth Factor)และ mTOR (mamalian Target Of Rapamycin) และนำไปสู่การกระตุ้นขบวนการ Autophagy

เราจะทำอย่างไร? ได้บ้างเพื่อกระตุ้นขบวนการ Autophagy

1. หยุดกินอาหาร (Fasting) เป็นวิธีที่ง่ายชัดเจนที่สุด มีการศึกษาในสัตว์ทดลองที่แสดงให้เห็นว่า การจำกัดแคลอรี่และการหยุดกินอาหารช่วยปกป้องเซลล์ประสาท โดยกำจัดโมเลกุลสารพิษและไมโตคอนเดรียที่เสื่อมสภาพออกจากเซลล์ประสาทผ่านขบวนการ Autophagy การศึกษาหนึ่งในสัตว์ทดลอง ขบวนการ Autophagy เริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์หยุดกินอาหาร 24 ชั่วโมง และยิ่งชัดเจนมากขึ้นหลังหยุดกินอาหาร 48 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นการทำในสัตว์ทดลอง จึงยังไม่มีข้อสรุปถึงจำนวนชั่วโมงที่การหยุดกินอาหาร (Fasting) จะส่งผลกระตุ้นกระบวนการ Autophagy ในมนุษย์

2. Ketogenic Diet เป็นวิธีกระตุ้นขบวนการ Autophagy โดยไม่ต้องหยุดกินอาหารซึ่งทำได้ง่ายกว่า ketogenic diet ก่อให้เกิดกลไกทางสรีรวิทยาการเผาผลาญพลังงาน ที่เลียนแบบการหยุดกินอาหาร (Fasting)ได้ ซึ่งกลไกที่ว่าเกิดจากการลดระดับฮอร์โมนอินซูลิน

การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า Ketogenic Diet สามารถลดการหลั่งโมเลกุลก่อการอักเสบคือ Cytochrome C ในเซลล์ประสาทได้ ส่งผลให้ Ketogenic Diet มีกลไกป้องกันเซลล์ประสาท (neuroprotective)ได้ด้วย

Ketogenic diet เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ ketosis ซึ่งทำให้เพิ่มระดับ ketone ในเลือด (>0.5 mole/L) การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า betahydroxybutyrate (BHB) กระตุ้นขบวนการ Autophagy ชนิดที่ไม่ต้องมี Autophagosome เกิดขึ้น (Chaperone-mediated autophagy)

3. Fasting + Ketogenic diet เป็นการผสมผสานที่อาจให้ผลกระตุ้นขบวนการ Autophagy ดีกว่าใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเดี่ยวๆ แต่อย่างไรก็ดี ยังต้องการการศึกษาในมนุษย์เพื่อยืนยันผลนี้

4. Sauna มีการศึกษาในสัตว์ทดลองจำนวนหนึ่งที่พบว่าการให้ความร้อน ซึ่งเป็นการสร้างความตึงเครียดให้เซลล์แบบหนึ่ง สามารถกระตุ้นขบวนการ Autophagy ได้ คราวหน้าหลังจากเล่นกีฬาเสร็จในยิม ลองแวะไปเข้าซาวน่าซัก 20 นาทีก็น่าจะดี

5. Exercise พบว่ากระตุ้นขบวนการ Autophagy ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการออกกำลังกายร่วมกับหยุดกินอาหาร เนื่องจากการออกกำลังกายเหนี่ยวนำ AMPK และ sirtuin 1 ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นขบวนการ Autophagy ยังมีความต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในมนุษย์

บทสรุป

✅ Autophagy เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเรากำลังเริ่มเข้าใจมันมากขึ้นว่า มันถูกควบคุมอย่างไร เราไม่ได้ต้องการให้กระบวนการนี้เกิดตลอดเวลาหรือหยุดตลอดเวลา

✅ เราต้องการให้กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาที่มันควรจะต้องทำงาน และเราก็ยังต้องการขบวนการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ รักษาแผล ควบคุมกระบวนการอื่นๆเพื่อการเจริญเติบโตภายในเซลล์ ซึ่งหมายถึงขบวนการ Autophagy ต้องลดระดับลง

✅ แม้การศึกษาในบทความนี้เกือบทั้งหมดทำในสัตว์ทดลอง ซึ่งยังมีความจำเป็นต้องมีการทำงานวิจัยในมนุษย์เพื่อยืนยันผลลัพธ์ก็ตาม แต่ความสำคัญของขบวนการ Autophagy นี้ ก็มีหลักฐานชัดเจนถึงประโยชน์ต่อการมีสุขภาพที่ดี การป้องกันโรคที่มาพร้อมกับความชราของเซลล์

==============================
สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  พูดคุยปรึกษาเรื่องสุขภาพ
คุยกับ
#โค้ชเกมส์
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#สุขภาพดีคุณสร้างได้
#แชร์ให้คนที่คุณรัก
#สุขภาพออกแบบได้










Autophagy กระบวนการกลืนกินเซลล์ (ตอนที่1)

Autophagy กระบวนการกลืนกินเซลล์ (ตอนที่1)

Autophagy คืออะไร?

✅ Autophagy มาจากภาษากรีก หมายความว่า การกินตัวเอง (Self Eating) มันเป็นกลไกปกติภายในทุกเซลล์ ที่โปรตีนหรือชิ้นส่วนอวัยวะภายในเซลล์ (Organelles) ซึ่งเสียหาย หรือใช้การไม่ได้แล้วอีกต่อไป จะถูกแยกชิ้นส่วนเข้ากระบวนการรีไซเคิล เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน หรือเพื่อนำมาใช้ในการผลิตโครงสร้างเซลล์ใหม่

✅ กระบวนการนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นกระบวนการพื้นฐานเพื่อความอยู่รอดของเซลล์ มีความสำคัญมากต่อการเตรียมตัวเพื่อการอยู่รอด หรือเตรียมตัวตาย ถ้าขบวนการนี้ไม่เกิดขึ้นตามปกติ

✅ การทำความเข้าใจขบวนการนี้ก็เหมือนกับการดูรูป diagram ที่ 1 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าขบวนการนี้มีความซับซ้อนมาก ยังมีเรื่องให้ทำความเข้าใจอีกมาก


รูปที่1 ความเกี่ยวพันของกระบวนการ Autophagy กับปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกเซลล์ ที่กระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการนี้


เซลล์ของเราก็เปรียบเสมือนห้องครัว

✅ ลองนึกถึงการทำอาหารในห้องครัวของบ้าน ซึ่งเมื่อทำอาหารเสร็จเรียบร้อย ส่วนที่เหนื่อยก็คือการทำความสะอาดห้องครัวให้พร้อมที่จะใช้งานในมื้อถัดไป

✅ เซลล์จำนวนล้านล้านล้านเซลล์ในร่างกายเรา ก็เหมือนกับครัวในบ้านที่ทำงานตั้งแต่เกิดจนกว่าจะสิ้นอายุขัย ซึ่งต้องถือว่าเป็นงานหนักมาก ดังนั้นเครื่องจักรภายในเซลล์ (Organelles) ย่อมมีการเสียหายเกิดขึ้นตลอดเวลา เครื่องจักรที่ว่าก็คือ "โปรตีน" ที่ทำหน้าที่ต่างๆในเซลล์ ซึ่งถ้าไม่มีกระบวนการเก็บกวาดขยะโปรตีนเหล่านี้ เข้าไปไว้ในโรงงานเก็บขยะ เพื่อแยกชิ้นส่วนโปรตีนที่ยังใช้การได้ นำเอากลับมารีไซเคิล หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงให้พลังงานภายในเซลล์แล้วละก็ ร่างกายก็ไม่สามารถจะทำหน้าที่ตามปกติเอาไว้ได้ตลอดอายุขัย ซึ่งเป็นที่มาของการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งโรคที่มาพร้อมกับความเสื่อมของอวัยวะ เช่นเบาหวาน มะเร็ง

✅ ปัญหาการเก็บกวาดขยะภายในเซลล์มารีไซเคิลนี้ จะเกิดเมื่อกระบวนการเก็บกวาดขยะโปรตีนช้าลง จนเกิดการสะสมของสารพิษภายในเซลล์

บทเรียนชีวะวิทยาสมัยมัธยม

✅ สมัยที่เราเรียนชีวะวิทยาชั้นมัธยมปลาย เราเรียนเรื่องโครงสร้างของเซลล์ว่า ประกอบด้วยนิวเคลียส ผนังเซลล์ (Plasma Membrane) ที่ห่อหุ้มอวัยวะต่างๆ (Organelles) ภายในเซลล์เอาไว้ อวัยวะภายในเซลล์แต่ละชนิดก็จะมีหน้าที่เฉพาะอย่างเช่น ไมโตคอนเดรียทำหน้าที่ผลิตพลังงาน

✅ ในขบวนการ Autophagy เราให้ความสนใจเป็นพิเศษกับอวัยวะหนึ่งภายในเซลล์ที่ชื่อ Lysosome ซึ่งบรรจุเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการสลายโปรตีน กรดนิวคลิอิก (Nucleic Acids) คาร์โบไฮเดรตและไขมันที่เสียหาย ใช้การไม่ได้แล้ว นอกจากนั้นผนังของ Lysosome ยังบรรจุโปรตีนที่ทำหน้าที่รีไซเคิลชิ้นส่วนอวัยวะภายในเซลล์ที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้น Lysosome จึงเหมือนโรงงานรีไซเคิลเล็กๆ เก็บกวาดวัตถุดิบที่ไร้ประโยชน์ แยกชิ้นส่วนวัตถุดิบเหล่านี้ และเอาส่วนที่ยังใช้ได้นำกลับมาใช้ใหม่

✅ หน้าที่ของ Lysosome ถือว่ามีความสำคัญในกระบวนการ Autophagy มาก เพราะไม่เพียงแต่จะขจัดโปรตีนที่เสียหายออกไปจากเซลล์เท่านั้น ยังจัดหาชิ้นส่วนใหม่เพื่อให้เซลล์นำไปสร้างอวัยวะ (Organelle)ใหม่ภายในเซลล์ได้ด้วย กระบวนการเริ่มเมื่อ Lysosome เริ่มเก็บกวาดชิ้นส่วนอวัยวะที่เสื่อม สึกหรอเข้าไปไว้ในถุง (Vesicles) ที่มีลักษณะเป็นเมมเบรนสองชั้นชื่อ Autophagosome จากนั้น Autophagosome จะถูกขนส่งไปหลอมรวม (fuse) กับ Lysosome กลายเป็น Lysosome ขนาดใหญ่ เพื่อให้ Lysosome สามารถใช้เอนไซม์ในการแยกชิ้นส่วนขยะที่เก็บกวาดมาเหล่านี้ เพื่อนำกลับมาใช้ต่อไป


รูปที่2 เซลล์และส่วนประกอบภายในเซลล์


รูปที่3 แสดงขั้นตอนการทำงานของ Lysosome เริ่มจากส่นประกอบของเซลล์ที่หมดสภาพ สิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรตีนที่พับตัวผิดปกติ เรียกว่า Misfolded Proteins จะถูกกลืนกินเข้าไปเก็บไว้ในถุง เรียกว่า Autophagosome แล้ว Autophagosome ก็จะเคลื่อนไปรวมกับ Lysosome แล้วก็ใช้เอ็นไซม์ย่อยส่วนประกอบเซลล์ นำเอาส่วนที่ยังใช้ได้มา Recycle เป็นพลังงาน หรือวัตถุดิบในการสร้างโครงสร้างของเซลล์ใหม่


การค้นพบ Autophagy

✅ นักวิทยาศาสตร์ทราบดีมานานแล้วว่าภายในเซลล์เรามีกระบวนการบางอย่างโดยเฉพาะภายใน Lysosome ที่ทำการแยกสลายชิ้นส่วนของเซลล์ที่หมดอายุหรือเสียหาย นำกลับมาใช้ใหม่ แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับ Autophagy มาเบ่งบานสุดๆ เมื่อ Prof.Yoshinori Ohsumi นักชีววิทยาชาวญี่ปุ่นได้ทำงานวิจัยในเซลล์ของยีสต์ ที่ไม่มีเอนไซม์ในการย่อยชิ้นส่วนอวัยวะภายในเซลล์ที่เสียหาย เพื่อเฝ้าสังเกตการเกิดขึ้นของ Autophagosome หลังจากนั้น เขาทำการกลายพันธุ์ยีสต์ เพื่อจะระบุให้ได้ว่ายีนตัวใดบ้าง ที่รับผิดชอบต่อกระบวนการ Autophagy และเขาก็ทำได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี 2559

✅ การค้นพบของ Prof.Yoshinori ทำให้เกิดงานวิจัยต่อยอดมากมาย เพื่อค้นหาเพิ่มขึ้นว่ายีนใดที่ควบคุมการสร้างโปรตีนเฉพาะในกระบวนการนี้ โดยมุ่งเน้นไปที่หน้าที่ของกระบวนการ Autophagy ต่อสุขภาพและการรักษาโรค

บทบาทหลัก 4 ประการของขบวนการ Autophagy

1. House Keeping เป็นหน้าที่พื้นฐานที่สุดเพื่อกำจัดโปรตีนหรือชิ้นส่วนอวัยวะที่เสียหายที่แขวนลอยเป็นพิษภายในเซลล์

2. Immunity (ภูมิคุ้มกัน) กระบวนการ Autophagy เป็นกลไกป้องกันตัวของเซลล์ ที่ใช้กำจัดสิ่งแปลกปลอมซึ่งบุกรุกเข้ามาในเซลล์ เช่น แบคทีเรีย ไวรัสและสารพิษ

3. Stress Response กระบวนการ Autophagy ถูกกระตุ้นได้ ความเครียดต่อเซลล์เช่น การหยุดกินอาหาร ในยามที่อาหารหายาก (เช่นการทำ Fasting) กระบวนการนี้ก็จะสลายชิ้นส่วนของเซลล์เอง เพื่อใช้สร้างพลังงาน ดังนั้นในการตอบสนองต่อความเครียด กระบวนการนี้ก็ทำหน้าที่เป็นกลไกในการป้องกันเซลล์เพื่อความอยู่รอด

4. Embryonic Development and Cell Differentiation กระบวนการ Autophagy มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนรูปร่างของเนื้อเยื่อ ((Tissue Remodelling Process) เช่นในกระบวนการสร้างทารกในครรภ์มารดา


สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พูดคุยปรึกษาเรื่องสุขภาพ
คุยกับ #โค้ชเกมส์ 
📞 092-645-4256
📲 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#สุขภาพดีคุณสร้างได้
#แชร์ให้คนที่คุณรัก
#สุขภาพออกแบบได้ 





วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

อยากผอมหุ่นดี ต้องลดไขมันไม่ใช่ลดน้ำหนัก

อยากผอมหุ่นดี ต้องลดไขมันไม่ใช่ลดน้ำหนัก
ความเชื่อผิดๆ ที่แสนยาวนานของการลดน้ำหนัก คือใช้เข็มของตาชั่งตัวชี้วัด ตัดสินว่าขณะนี้เราผอมหรืออ้วน?
เคยถามตัวเองมั้ย? ว่าแท้จริงแล้วเราต้องการลดน้ำหนัก หรือต้องการให้หุ่นดี เพื่อจะได้ใส่เสื้อสวยๆ ได้? เป้าหมายของเราคืออะไรกันแน่?
ถ้าเรา กำลังเชื่อว่าการลดน้ำหนัก คือการพยายามอดอาหาร กินให้น้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้เข็มของตาชั่งน้อยลง เพื่อคาดหวังว่าตัวเองจะหุ่นดี ขอบอกเลยว่าเป็นความเชื่อที่ผิดโดยสิ้นเชิง
ใช่ครับ ทำแบบนั้นแล้วเข็มบนตาชั่งลดลงแน่นอน แต่ถ้ามาส่องกระจกดูว่า เราอาจผอมลงก็จริง แต่ทำไมยังมีพุง รูปร่างไม่สมส่วนหุ่นไม่ดีเหมือนดารา หรือซูเปอร์โมเดล ทำไมเป็นแบบนั้นได้?

ไขมัน vs กล้ามเนื้อ
เวลาเราอดอาหาร ร่างกายเราจะดึงไขมันและมวลกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานพร้อมๆ กัน ทำให้พอเราน้ำหนักลด รูปลักษณ์ภายนอกเราจึงดูผอมกะหร่อง อาจจะเคยได้ยินนักมวย นักกีฬาที่ดูหุ่นฟิตปั๋งหลายคนอาจจะน้ำหนักมากกว่าเราด้วยซ้ำ แต่ทำไมเค้าถึงดูดีกว่า?  มาดูข้อเท็จจริงกันว่าทำไม?
รูปข้างล่างนี้แสดงก้อนไขมันและกล้ามเนื้อ 2 kg. เท่าๆ กัน


เห็นมั้ยครับ?
ไขมัน 2 kg. มีขนาดใหญ่มากๆ ใหญ่กว่าด้ามปากกาเสียอีก ยิ่งไขมันสะสมในตัวเรามากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ตัวเราดูบวม และนั่นคือตัวการที่แท้จริงของความอ้วน!

ดังนั้นเคล็ดลับของการหุ่นเฟิร์มดูดี ก็คือการเปลี่ยนก้อนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเราสามารถสลับก้อนไขมันและก้อนกล้ามเนื้อขนาด 2 kg. ที่อยู่พุงของเราได้ พุงเราจะหดเล็กลงขนาดไหน
มาดูภาพตัวอย่างของรูปร่างชาย และหญิงที่มีปริมาณไขมันแตกต่างกัน



ยิ่งเปอร์เซ็นไขมันน้อย รูปร่างของเราก็จะดูดีขึ้น  โดยเปอร์เซ็นต์ไขมันของผู้ชายที่จัดว่าผอมจะอยู่ที่ต่ำกว่า 15 - 18% และ 25 - 28% สำหรับผู้หญิง
ต่อไปถ้าเราพูดถึงการลดน้ำหนัก เราจะหมายถึงการลดปริมาณไขมัน (เปอร์เซ็นต์ไขมัน) และเพิ่มปริมาณมวลกล้ามเนื้อ เข้าใจตรงกันนะครับ?

เพิ่มกล้ามเนื้อลดไขมัน
จะเห็นได้ว่าคีย์หลักในการลดน้ำหนักนั้นก็คือการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และลดปริมาณไขมันให้มากที่สุด ยิ่งเปอร์เซ็นต์ไขมันน้อย เราก็จะดูเฟิร์มมากขึ้น

เมื่อเรามีกล้ามเนื้อมากขึ้น ร่างกายเราต้องใช้พลังงานมากขึ้น  เผาผลาญไขมันมาใช้มากขึ้น โดยการเผาผลาญนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้เรานอนหลับ ดังนั้นยิ่งเรามีมวลกล้ามเนื้อมาก แคลอรี่ที่ถูกเบิร์นออกก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

จากที่ได้กล่าวไปตอนแรก   ร่างกายเราจะดึงไขมันและมวลกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานพร้อมๆ กัน เราไม่สามารถไปบอกร่างกายว่า กรุณาดึงเอาไขมันมาใช้เพียงอย่างเดียวนะ  ส่วนกล้ามเนื้อให้เก็บไว้

แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะบังคับให้ร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานอย่างเดียว?
เราบังคับร่างกายไม่ได้ก็จริง แต่เราก็สามารถส่งซิกให้ร่างกายได้ ให้ร่างกายเอากล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานน้อยที่สุด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
อย่าอดอาหาร ให้ทานแคลอรี่ให้พอเพียงที่ร่างกายต้องการ เช่น ผู้หญิงทานอาหารให้ไม่น้อยกว่า 1200 CAL ต่อวัน หรือผู้ชาย 1500 CAL ต่อวัน

เน้นทานข้าวกล้อง โปรตีน ผักและผลไม้ให้ได้มากที่สุด

ทานโปรตีนให้ได้อย่างน้อย 1.2 - 1.6 g. ต่อน้ำหนักตัว 1 kg. เช่น ถ้าน้ำหนัก 60 kg. ก็ให้ทานโปรตีนประมาณ 72 g. เป็นอย่างน้อย
ให้ทานคาร์โบไอเดรตบ้าง แต่รับประทานแต่น้อย  โดยคาร์โบไอเดรตที่ได้รับควรจะมาจากข้าวกล้อง ธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ
ทานน้ำมันปลา เพื่อให้ได้รับกรดไขมันที่จำเป็น (EFA) อย่างเพียงพอ

เล่นเวท ข้อนี้สำคัญมากๆ เพราะถ้าเราไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อในการทำงานหนักๆ เช่นยกของหนักๆ ร่างกายจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องเก็บกล้ามเนื้อไว้  กล้ามเนื้อที่ไม่จำเป็นจึงถูกดึงไปเผาผลาญเป็นพลังงาน

รู้อย่างนี้แล้ว ….  ถ้าให้เลือกระหว่างลดน้ำหนัก หรือลดไขมัน เพื่อนๆ จะเลือกอย่างไหน?

เป็นกำลังใจให้กับคนที่อยากหุ่นดีทุกคนนะครับ

ที่มาข้อมูล – Weight Loss vs Fat Loss
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  พูดคุยปรึกษาเรื่องสุขภาพ
คุยกับ
#โค้ชเกมส์
092-645-4256
 LINE : kp156
#เพราะหลอดเลือดคือทั้งหมดของชีวิต
#สุขภาพดีคุณสร้างได้
#แชร์ให้คนที่คุณรัก
#รักใครให้แชร์
#แคร์ใครให้แท็ก
#สุขภาพออกแบบได้

Promotion